ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

อมลวรรณ เดชสุภา
ปัทมาวดี เล่ห์มงคล
อรพรรณ บุตรกตัญญู

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี จำนวน 10 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดราชผาติการาม สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมประกอบอาหาร แบบประเมินความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย และแบบบันทึกพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง
หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง มีค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยเท่ากับ 16.8 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.54


2. เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเอง
หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองโดยแยกเป็นรายด้าน คือ ทักษะด้านการกล้าแสดงออกและกล้าแสดงความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ย 5.8 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 ด้านความภาคภูมิใจในตนเองมีค่าเฉลี่ย 5.5 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 และด้านการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ย 5.5 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
เดชสุภา อ. ., เล่ห์มงคล ป. ., & บุตรกตัญญู อ. . (2022). ผลการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อพฤติกรรมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 36–49. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.16
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). ทักษะทางสังคมใครว่าไม่สำคัญ, สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2564. http://www.kriengsak.com/node/1646

จิตราภรณ์ ชีรนรวนิชย์. (2556). พฤติกรรมการกล้าแสดงออกในชั้นเรียนอย่างเหมาะสมของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2555). ประโยชน์ของการประกอบอาหารในเด็กปฐมวัย, สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563. http://daratim54.blogspot.com/2012/04/blog-post_08.html

ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สุภา บุญพึ่ง. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การสอนภาษาแบบธรรมชาติ กับ แบบฮาร์ทส. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุภาวดี โสภาวัจน์. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Maslow, A. M. (1954). Motivation and personality. New York: Harper and Row.