การจัดการต้นทุนผลิตภัณฑ์ของสินค้า OTOP ประเภทอาหารแปรรูป และหัตถกรรม ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการคิดต้นทุนผลิตภัณฑ์ของสินค้า OTOP ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการต้นทุน โดยได้ทำการศึกษาวิจัยกลุ่ม OTOP จำนวน 2 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านต้นจันทน์ ผู้ผลิตไข่เค็ม 2) กลุ่มหัตถกรรมบ้านเด่นสันคะยอม ผู้ผลิตตะกร้าสานจากเส้นพลาสติก การศึกษานี้ใช้แบบสนทนากลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีคิดต้นทุน รวมทั้งวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการต้นทุนของสินค้า OTOP ทั้ง 2 กลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่ม มีวิธีการคิดต้นทุนที่ยังไม่ถูกต้องโดยจำแนกวัตถุดิบทางตรงไม่ถูกต้อง และไม่มีการคิดค่าแรงงานทางตรง รวมทั้งคิดค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่ครบถ้วน และไม่มีการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการต้นทุนผลิตภัณฑ์ของสินค้า OTOP เมื่อมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการคิดต้นทุน ทางกลุ่มสามารถคิดต้นทุนที่ถูกต้องได้ซึ่งทำให้สามารถกำหนดราคาขายและเพิ่มกำไรได้ รวมถึงได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการต้นทุนของสินค้า OTOP โดยการนำแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับระบบการผลิตแบบทันเวลามาใช้ ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้คือ กลุ่มสินค้า OTOP ควรมีความรู้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่ถูกต้อง และให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กลุ่มสินค้า OTOP ต่อไป
Article Details
References
กมลทิพย์ คำใจ. (2553). การเงินธุรกิจ. เชียงใหม่: สาขาวิชาการบัญชีและการเงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
กิ่งกนก รัตนมณี, ณพงศ์ วิวัฒน์สรรพกิจ, ปรัชญศรัณย์ มรรษนัยน์, ปิยะวัฒน์ โสธารัตน์ และวิชชากร จินดากุล, (2560). การคํานวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ของโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดตรัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 15(1), 75-84. https://so04.tci-thaijo.org/index.php /stou-sms-pr/article/view/63284/90755
ดวงสมร ฟักสังข์. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง การบริหารต้นทุนของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/786/1/196-55.pdf
ธนวรรธน์ พลวิชัย. (2562, 29 พฤษภาคม). ม. หอการค้าฯ ปรับลดประมาณการ GDP ปีนี้เหลือโต 3.5% จากเดิมคาด 3.8%, ส่งออกเหลือโต 0.5. ไทยโพสต์. https://www.ryt9.com/s/ tpd/2996063
เพ็ญนภา หวังที่ชอบ. (2561). การวิเคราะห์ต้นทุนและระบบบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษา :กลุ่มจักสานหวาย บ้านวัดนาค ตำบลปากกราน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 20(1), 74-81. https://so03.tci-thaijo.org /index.php/msaru/issue/view/16258/MSJournal_Vol20_1_2561
วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ และอัจฉรา ไชยูปถัมภ์. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2). https://research.dusit.ac.th
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). รายงานประจำปี 2559. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2562. http://www.industry.go.th/oig/index.php.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันทราย. (2563). ขอเชิญชวนทุกท่านอุดหนุนสินค้าไทย ช่วยเหลือผู้ประกอบการ OTOP อำเภอสันทรายกันนะคะ, สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563. https://district.cdd.go.th/sansai/2020/05/16/%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b4%e0%b8%8d%e0%b8%8a%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%97%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%b8%e0%b8%94%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b8
Kariyawasam, H. N. (2018). A study of cost and management accounting practices in Sri Lanka's manufacturing industry. International Journal of Recent Advances in Multidisciplinary Research, 5(3), 3632-3634. http://www.researchgate.net/publication/ 324775222