การศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการสวนสาธารณะบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการสวนสาธารณะบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จำนวน 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้บริการสวนสาธารณะบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.70 ) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสถานที่ให้บริการ ( = 3.70) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการให้บริการ ( = 3.68) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากรให้บริการ ( = 3.60) ข้อเสนอแนะการพัฒนาสวนสาธารณะบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ 1) ควรจัดหาอุปกรณ์การป้องกันการจมน้ำตามจุดต่าง ๆ รอบบึงสีฐาน 2) ควรกำหนดพื้นที่สำหรับสุนัข 3) ควรกำหนดจุดจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม 4) ควรดำเนินการโครงการให้เช่าบริการ “จักรยานอัจฉริยะ” หรือ Smart Bike Sharing ให้ต่อเนื่อง 5) ควรเพิ่มจุดทิ้งขยะเพิ่มมากขึ้น 6) ควรจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะ 7) ควรติดกล้องวงจรปิด และติดตั้งเสาไฟส่องสว่างถนนตามเส้นทางการวิ่ง และ 8) ควรเพิ่มจำนวนเครื่องออกกำลังกาย และซ่อมบำรุงเครื่องออกกำลังกายให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
Article Details
References
ขวัญชนก บวกเอี๋ยว. (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการจัดการมลพิษทางกลิ่นของฟาร์มสุกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน : กรณีศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
จำรัส มือขุนทด. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสวนสาธารณะของเทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ณรงค์ ซองทุมมินทร์. (2553). ความคิดเห็นต่อการพัฒนาสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารสักทอง สถาบันการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 16(1), 103-117.
ธนภูมิ เทิ้มแพงพันธุ์. (2558). ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการสวนกาญจนาภิเษก อําเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ระวัง เนตรโพธิ์แก้ว. (2542). มนุษย์สัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.
เรไร นพภาษี. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนในการใช้บริการสนามกีฬาแห่งใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2(1), 99-128.
วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์, อุไรวรรณ อินทร์ม่วง, ธวัชชัย เนียรวิฑูรย์ และถิรพงษ์ ภิรมนัส. (2543). ปริมาณสารมลพิษและโลหะหนักในแหล่งน้ำเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สกลรัชต์ คงรอด. (2561). ศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการสวนสาธารณะในเขตเทศบาลนครเมืองอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี, 2(1), 53-62.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. (2564). กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดขอนแก่น (พ.ศ.2558-2560), สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564. http://www.kkpao.go.th/kkpao/uploads/editor/5383fec82f30c.pdf
อัจฉรา กุดวงษา. (2551). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการจัดสภาพแวดล้อมของสวนสาธารณะ กรณีศึกษา: สวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จังหวัดมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เอื้อมพร วีสมหมาย. (2527). หลักการจัดการสวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ. กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา.