แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ตามแนวทางชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี

Main Article Content

ปัญจพร ธนาวชิรานันท์
ชนิษฐา ใจเป็ง
ณพงศ์ รุจิวรารัตน์
โชติมา ดีพลพันธ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อศึกษาบริบทและสภาพการณ์ดำเนินการของการจัดการท่องเที่ยว และหาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ในชุมชนสนามจันทร์ ด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) ศึกษาชุมชนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศตามแนวทางชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี และ 3) จัดสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนและวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า


            1) การดำเนินการจัดการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์มีการจัดระบบการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยว มีผังการท่องเที่ยวชุมชน มีคณะกรรมการการท่องเที่ยวของชุมชน มีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปที่สร้างรายได้แก่ชุมชน มีสิ่งอำนวยความสะดวกบริการนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง


            2) ชุมชนโอทอปนวัตวิถีที่มีความเป็นเลิศ เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว มีการบริหารจัดการที่ชัดเจน เป็นระบบ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีบริการด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย


            3) การพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนสนามจันทร์ ตามแนวทางชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ควรมีการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว การจัดทำแผนธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก และการพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
ธนาวชิรานันท์ ป. ., ใจเป็ง ช. ., รุจิวรารัตน์ ณ. ., & ดีพลพันธ์ โ. . (2022). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ตามแนวทางชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 134–147. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.23
บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี, สืบค้นเมื่อ

มีนาคม 2563. http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER051/ GENERAL/DATA0000/00000042.PDF

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2562). คู่มือองค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์ 2562. นครปฐม: องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์.

จันทร์จิรา สุขบรรจง. (2559). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของหนานมดแดง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). สถิติเพื่อนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ประภาส สีหานอก, ศราวุฒิ ทัพธานี, นันธพร ทิพยาวงษ์ และอิทธิรัฐ สินารักษ์. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. http://wiki.ocsc.go.th/_media/กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก_2_006.pdf

ปิยังกูร พวงแก้ว. (2562). การดำเนินงานของโครงการหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษา บ้านท้ายดง หมู่ที่ 1 ตำบลบาดงกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชมอย่างยั่งยืน, สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563.

https://www. tatreviewmagazine.com/article/cbt-thailand/

Manaf, A., Purbasari, N., Damayanti, M., Aprilia, N., & Astuti, W. (2018). Community-Based Rural Tourism in Inter-Organizational Collaboration: How Does It Work Sustainably? Lessons Learned from Nglanggeran Tourism Village, Gunungkidul Regency, Yogyakarta, Indonesia. Sustainability, 10(7), 2142, 1-18.