รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการสามธรรมนิเวศน์: กรณีศึกษา บ้านพอกใหญ่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

สุชาติ วรรณขาว
สุนันท์ แก้วอาษา
ยุพิน เรืองแจ้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวสามธรรมนิเวศน์ (ธรรมชาติ วัฒนธรรม ธรรมะ) และ 2) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการสามธรรมนิเวศน์ จังหวัดสกลนครใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methodology) ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาทรัพยากรการท่องเที่ยวสามธรรมนิเวศน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจภาคสนามเพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) 2) การอภิปรายกลุ่มย่อยเพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการสามธรรมนิเวศน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในชุมชนจำนวน 70 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการอภิปรายกลุ่ม และวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยว 3) การประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อนิทรรศการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวจำนวน 200 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลปรากฏว่า 1) บ้านพอกใหญ่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวครอบคลุมสามธรรมนิเวศน์ 2) รูปแบบการท่องเที่ยวที่พัฒนาขึ้นเกิดจากการยึดเอารูปแบบวิถีชีวิตของชาวบ้านผนวกกับความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นแกนหลักแล้วเชื่อมโยงและบูรณาการไปสู่ทรัพยากรการท่องเที่ยวสามธรรมนิเวศน์ในแต่ละด้าน 3) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.72 (S.D. 0.52)

Article Details

How to Cite
วรรณขาว ส. ., แก้วอาษา ส. ., & เรืองแจ้ง ย. . (2022). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการสามธรรมนิเวศน์: กรณีศึกษา บ้านพอกใหญ่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 167–179. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.25
บท
บทความวิจัย

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 164-176.

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2561). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 131-147.

ชนิษฐา ใจเป็ง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ทุนทางสังคม: กรณีศึกษาชุมชนนครชุม กำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 30(1), 26-38.

ธารนี นวัสนธี และสุขุม คงดิษฐ์. (2561). แนวทางการบูรณาการรูปแบบการท่องเที่ยวจากฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยววิถีไทยอย่างสร้างสรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นงลักษณ์ จันทาภากูล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเขาหัวจีน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยบริการ, 24(2), 125–152.

นะภาพร ทาระอาธร. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในจังหวัดร้อยเอ็ดสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรัชญากร ไชยคช, ดวงธิดา พัฒโน, ธนกฤช สุวรรณ, นุกุล ชิ้นฟัก และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2558). ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านตันหยงลูโละ ตำบลตันหยงลูโละ อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี. ใน สำนักวิจัยและพัฒนา, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติครั้งที่ 6, (น. 43-51). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระมหาณัฐกิตติ อนารโท, พระครูสิริสุตาภรณ์ และพระวิมาน คมฺภีรปญฺโญรู. (2563). รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงพุทธของพระสงฆ์สายวัดป่า ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.วารสารวิชาการธรรมทรรศน. 20(2), 35-46.

วีระพล ทองมา, วินิตตรา ลีละพัฒนา และนวลจันทร์ ทองมา. (2554). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักวิจัยและส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศิริจรรยา ประพฤติกิจ. (2553). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดตราด เพื่อจัดทางเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชาดา รักเกื้อ. (2560). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. ใน สถาบันวิจัยและพัฒนา, รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4, (น. 869-880). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สำนักงานจังหวัดสกลนคร กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสกลนคร 4 ปี 2561-2564 (ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2562). สกลนคร: ผู้แต่ง.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลยุทธ์สู่การเติบโตอย่างทั่วถึงและการนำส่งคุณค่าพิเศษ. Tourism and Economic Review รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว, 1(3), 30-44.

สถาบันคลังสมองของชาติ. (2552). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: ส่วนหนึ่งของรายงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาพื้นที่ขายฝั่งทะเลตะวันตก: ด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: โครงการศึกษาเพื่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก สถาบันคลังสมองของชาติ.