ภาษาและสังคมผ่านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ

Main Article Content

จริยา สายรัตนอินทร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ภาษาด้วยแนวคิดด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับสังคม นำมาสู่ประเด็นการใช้ผนวกเนื้อหาภาษาที่ผู้คนใช้ในสังคมออนไลน์เพื่อสร้างความตระหนักด้านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ พร้อมทั้งยกตัวอย่างการวิเคราะห์กลวิธีการโน้มน้าวใจจากชุดข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าวจากทวิตเตอร์เพื่อเสริมสร้าง “การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ” ผู้เขียนเลือกชุดข้อมูลที่จะใช้เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์จากบัญชีทวิตเตอร์ชื่อศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย หรือ @AFNCThailand มาใช้เป็นชุดข้อมูลที่ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นข่าวปลอมจากหน่วยงานของรัฐ คือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการวิเคราะห์แยกแยะเนื้อหากระบวนการโน้มน้าวใจข่าวปลอมในทวิตเตอร์โดยใช้แบบจำลองของแรงค์ (Rank’s model of persuasion) ซึ่งผลที่ได้พบว่า ข่าวปลอมนั้นมีการนำเสนอข้อมูลบิดเบือนโดยใช้การทำให้สารเด่นขึ้น หรือการสื่อสารจุดเด่นของผู้ส่งสารให้รับรู้ได้เด่นชัด เพื่อสร้างความรู้สึกในเชิงบวก และการทำให้สารไม่สลักสำคัญโดยหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงจุดด้อยหรือความผิดพลาดของเนื้อความหลักที่จะสื่อ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะให้ผู้สอนใช้การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นแนวทางฝึกฝนผู้เรียนให้สามารถกรองเนื้อหาที่ได้จากสื่อแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำเหมาะสม ไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม (fake news) ต่าง ๆ

Article Details

How to Cite
สายรัตนอินทร์ จ. . (2022). ภาษาและสังคมผ่านการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(2), 180–193. https://doi.org/10.14456/pyuj.2021.26
บท
บทความวิชาการ

References

กรรณิการ์ อัศวดรเดชา. (2550). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขนิษฐา ใจมโน. (2562). การสังเคราะห์และแนวโน้มการวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคม. วารสารมังรายสาร, 7(1), 67-86.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2563). คน กทม. คิดว่าข่าวปลอมจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปสู่ความขัดแย้ง, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564. http://research.bsru.ac.th/%E0%B8%84%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8% 97%E0%B8%A1-%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9% 88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97/

รัตนาภรณ์ จอมมูล. (2563). มาตรการทางกฎหมายในการกำกับควบคุมกำกับข่าวปลอมทางการเมืองบนโลกไซเบอร์. CMU Journal of Law and Social Sciences, 13(1), 1-23.

วีระพล วงษ์ประเสริฐ, ธัญวรัตม์ เจียรประดิษฐ์ และสุพัตรา โคบุตร. (2563). ทวิตเตอร์ (Twitter) กับ ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของเยาวชน ไทยที่สยามสแควร์. Rajapark Journal, 14(32), 141-154.

สุจิตรา แก้วสีนวล และอุดมลักขณ์ ธรรมปัญญา. (2563). ภูมิรู้ดิจิทัล: วิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาเพื่อยกระดับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชนไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 8(1), 75-99.

สุธิดา พัฒนศรีวิเชียร. (2561). กลยุทธ์การใช้สื่อสังคม (social media) เพื่อรณรงค์ทางการเมืองในยุค สังคมเครือข่าย. Payap University Journal, 29(1), 27-41.

สุพัตรา หมอยาดี. (2563). การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการบูรณาการใช้ทวิตเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนสงวนหญิง. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC), 3(9), 128-139.

Beaulieu, S., Woll, N., French, L. M., and Duchemin, M. (2018). Language learners’ metasociolinguistic reflections: A window into developing sociolinguistic repertoires. System, 76, 210-218.

Han, S. (2019). Weathering the twitter storm. Information Technology and Libraries, 38(2), 37-48.

Hobbs, R., & Jensen, A. (2009). The past, present, and future of media literacy education. Journal of Media Literacy Education, 1(1), 1-11.

Labov, W. (1972). Sociolinguistic patterns. Philadelphia, PA: University of Pennsylvania Press.

Labov, W., Ash, S., Baranowski, M., Nagy, N., Ravindranath, M., and Weldon, T. (2006). Listeners' sensitivity to the frequency of sociolinguistic variables. University of Pennsylvania Working Papers in Linguistics, 12(2), 105-129.

Lazer, D. M. J., Buam, M. A., Benkler, Y., Berinsky, A. J., Greenhill, K. M., Menczer, F., … Zittrian, J. L. (2018). The science of fake news. Science Magazine, 359(6380), pp. 1094-1096.

Livingstone, S. (2019). Audiences in an age of datafication: Critical questions for media research. Television & New Media, 20(2), 170-183.

Potter, W. J. (2010). The state of media literacy. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 54(4), 675-696.

Rank, H., (1976). Teaching about public persuasion. In D. Dietrich (ed.), Teaching about doublespeak (pp. 3-19). Urbana, IL: National Council of Teachers of English.

Wilkins, D. J., Livingstone, A. G., and Levine, M. (2019). Whose tweets?: The rhetorical functions of social media use in developing the Black Lives Matter movement. British Journal of Social Psychology, 58(4), 1-38.