ภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านแม่กำปองต่อความพึงพอใจ และความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว

Main Article Content

ฉัตรฤดี จองสุริยภาส
จุรี วิชิตธนบดี
ณัฐวุฒิ ยอดใจ
ธีราลักษณ์ สัจจะวาที
เผิง วัง
วิภา จงรักษ์สัตย์
วิริยา จงรักษ์สัตย์

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นการท่องเที่ยวที่สามารถดึงคนกับธรรมชาติมาอยู่ร่วมกัน และทำให้ทั้งนักท่องเที่ยวและชุมชนที่เข้าร่วมได้รับประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน โดยหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญ คือ หมู่บ้านแม่กำปองที่ถือเป็นต้นแบบ ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ รวมทั้งความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ โดยมี แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หมู่บ้านแม่กำปองเป็นกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เคยมาท่องเที่ยวที่หมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 20 - 60 ปี จำนวน 212 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการกระจายแบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำ ในขณะเดียวกัน ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวยังส่งผลเชิงบวกต่อความต้องการกลับมา เที่ยวซ้ำ ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถเป็นประโยชน์แก่ตัวแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หมู่บ้านแม่กำปองเอง และแหล่งท่องเที่ยวหรือหน่วยงานเชิงอนุรักษ์อื่นเพื่อนำแนวทางไปปรับใช้ เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจและความต้องการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่. (2562). เชียงใหม่. การท่องเที่ยวฯ. https://www.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/chiang-mai/101

นพรดา คำชื่นวงศ์. (2564). กว่าจะมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแม่กำปอง. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://researchcafe.tsri.or.th/community-based-tourism/

นิมิต ซุ้นสั้น และศศิวิมล สุขบท. (2562). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ความผูกพันกับสถานที่ ความพึงพอใจโดยรวม และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกในจังหวัดภูเก็ต. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(1), 68 - 83.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563, 28 กันยายน). ททท. จัดงานประกาศและพิธีพระราชทานรางวัลโครงการสุดยอดหมู่บ้านท่องเที่ยวชนบท ยกระดับแบรนด์การท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทย. https://mgronline.com/entertainment/detail/9630000099307

พรพิมล ลอแท และมนตรี พิริยะกุล. (2561). อิทธิพลของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว คุณค่าที่รับรู้ ความคุ้นเคย และภาพลักษณ์ที่มีต่อความภักดีต่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ปลายทางประเทศไทย: การศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบสมการโครงสร้างแบบพหุกลุ่มระหว่างเชื้อชาติของนักท่องเที่ยว. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(3), 198 - 214.

เพียงใจ คงพันธ์ และภัทราวรรณ วังบุญคง. (2564). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาศูนย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 15 - 29.

ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 50 - 63.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้พลวัตของการเปลี่ยนแปลง: บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2564). อิทธิพลของภาพลักษณ์และคุณค่าตามการรับรู้ของแหล่งท่องเที่ยวต่อความตั้งใจกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี. Journal of Business, Innovation and Sustainability, 16(3), 163 - 181.

หลิวยวี่ และฐิติยา ปราโมทย์. (2566). อิทธิพลของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการกลับมา เที่ยวซ้ำ ของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในนครเฉิงตูสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 219 - 235.

อนุรักษ์ ทองขาว. (2565). การศึกษาภาพลักษณ์การท่องเที่ยวและคุณภาพการให้บริการที่มีอิทธิพลต่อ อุปสงค์การท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 59 - 70.

Chen, C. C., Lai, Y. H., Petrick, J. F., & Lin, Y. H. (2016). Tourism between divided nations: An examination of stereotyping on destination image. Tourism Management, 55, 25 - 36.

Cho, E., & Kim, S. (2015). Cronbach’s coefficient alpha: Well known but poorly understood. Organizational Research Methods, 18(2), 207 - 230.

Cong, L. C. (2016). A formative model of the relationship between destination quality, tourist satisfaction and intentional loyalty: An empirical test in Vietnam. Journal of Hospitality and Tourism Management, 26, 50 - 62.

Comrey, A. L. (1988). Factor-analytic methods of scale development in personality and clinical psychology. Journal of Consulting and Clinical Psychology, 56(5), 754 - 761.

Eagles, P. F. J, Mccool, S. F., & Haynes, C. D. (2002). Sustainable tourism in protected areas guidelines for planning and management. International Union for Conservation of Nature.

Hunt, J. D. (1971). Image: A factor in tourism. Prentice Hall.

Li, J. L. (2017). Study on the impact of destination familiarity on tourist destination image. [Unpublished doctoral dissertation]. Shaanxi Normal University.

Li, Z. H. (2003). On the improvement of tourist service satisfaction in scenic spots. Enterprise Vitality, 10(4), 39 - 41.

Lin, C., & Yin, J. (2022). A study on the relationship between tourist satisfaction and tourist image perception based on web text and GRA model. Tourism Management and Technology Economy, 5(2), 55 - 65.

Pizam, A., Neumann, Y., & Reichel, A. (1978). Dimensions of tourist satisfaction with a destination area. Annals of Tourism Research, 5(3), 314 - 322.

Tasci, A. D., Gartner, W. C., & Cavusgil, S. T. (2007). Conceptualization and operationalization of destination image. Journal of Hospitality & Tourism Research, 31(2), 194 - 223.

Thiumsak, T., & Ruangkanjanases, A. (2016). Factors influencing international visitors to revisit Bangkok, Thailand. Journal of Economics, Business and Management, 4(3), 220 - 230.

Viet, B. N., Dang, H. P., & Nguyen, H. H. (2020). Revisit intention and satisfaction: The role of destination image, perceived risk, and cultural contact. Cogent Business & Management, 7. https://doi.org/10.1080/23311975.2020.1796249

Wang, X., Zhen, F., Wu, X. G., Zhang, H., & Liu, Z. H. (2010). Driving factors of resident satisfaction in tourism development: Taking Yangshuo county Guangxi as an example. Geographical Studies, 29(5), 841 - 851.

Zhang, H., Fu, X., Cai, L. A., & Lu, L. (2014). Destination image and tourist loyalty: A meta-analysis. Tourism Management, 40, 213 - 223.

Zhou, G., Chen, W., & Wu, Y. (2022). Research on the effect of authenticity on revisit intention in heritage tourism. Frontiers in Psychology, 13, 1 - 11. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.883380