การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

Authors

  • พระมหาวีระชาติ โปธา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

Keywords:

การประยุกต์ใช้, อิทธิบาทธรรม, การปฏิบัติหน้าที่, an application, Iddhipada Dhamma, duty performance

Abstract

        The objectives of this research were as follows: 1) to study an application of the principle of Iddhipada Dhamma to duty Performance of personnel in Siridhorn Rajavidyalaya Campus, and 2) to study suggestions concerning the problems and solutions on an application of the principle of Iddhipada Dhamma to duty performance of personnel in Siridhorn Rajavidyalaya Campus. The sample were 54 of the people sized by Taro Yamane‘s formula. Research instruments were questionnaires comprising 5 levels and 24 questions and reliability was at 0.66. The used statistics were descriptive statistics frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics including T-test and One3Way ANOVA test. All data would then be analyzed by computing.

        The results of research were found as follows:

        1. An application of the principle of Iddhipada Dhamma to duty performance of personnel in Siridhorn Rajavidyalaya Campus, was in the whole view at the highest level. Having been considered each aspect, they were found that two aspects were at the highest level and two aspects were at a higher level by order of the maximum to the minimum levels i.e. the aspect of application of Vimamsa, the aspect of an application of Chanda, the aspect of an application of Citta, and the aspect of an application of Viriya respectively.

        2. The suggestions concerning the problems and solutions on an application of the principle of Iddhipada Dhamma to duty performance of personnel in Siridhorn Rajavidyalaya Campus, were by order of the maximum to the minimum levels as follows: 1) there should have a promotion for good and able personnel to serve as a model for other personnel, 2) there should emphasize on the work based on using mindfulness and carefulness, 3) there should have programs for training personnel to have more attention to their work and 4) there should have the arrangement of mutual activities between students and personnel for unity among them.

       3. The results of 5 specialist being interviewed were found as follows: An application of the principle of Iddhipada Dhamma to duty performance of personnel Siridhorn Rajavidyalaya Campus, were at the higher level in all 4 aspects i.e. 1) in the aspect of an application of Chanda (Will) , personnel who had a will would force them to finish their work with encouragement; though they faced some obstructions, they would not give up their effort and would continue their work until they reached to the final objectives; 2) in the aspect of an application of Viriya (Effort), personnel should have an effort to be responsible for themselves and for their assigned works, 3) in the aspect of an application of Citta (Thoughtfulness), personnel should pay attention to the details of their assigned work for the best result of their work, and 4) in the aspect of an application of Vimamsa (Investigation), personnel should use wisdom in their work.

 

บทคัดย่อ 

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1 เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และ 2 เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรของ วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัยจำนวนทั้งสิ้น 54 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการตามสูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ (Taro  Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.66 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แล้วนำมาวิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

         ผลการวิจัยพบว่า

         1. การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดสองด้าน และอยู่ในระดับมากสองด้าน เรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการใช้หลักวิมังสาในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้หลักฉันทะในการปฏิบัติงาน ด้านการใช้หลักจิตตะในการปฏิบัติงาน และด้านการใช้หลักวิริยะในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ  

         2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ลำดับตามความถี่สูงไปหาต่ำสี่ลำดับแรก คือ ควรส่งเสริมคนที่มีความพยายามให้เป็นแบบอย่างแก่คนอื่นได้ทำตาม ควรเน้นการทำงานโดยใช้สติคิดให้รอบคอบก่อนเสมอ ควรอบรม ชี้แนะให้บุคลากรมีความเอาใจใส่ต่อการทำงานมากขึ้น และควรจัดให้มีการทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษากับบุคลากรเพื่อความสามัคคี

        3.  สรุปการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญ 5 รูป/คน สรุปได้ดังนี้ การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร  วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย อยู่ในเกณฑ์มาก ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักฉันทะโดยรวม คือความพอใจ เป็นสิ่งที่เป็นตัวผลักดันให้งานสำเร็จไม่ท้อแท้ท้อถอย เจออุปสรรคก็ไม่ท้อถอยทำอย่างไรจะทำได้ปฏิบัติงานได้ดีทำให้งานประสบผลสำเร็จและมีความขยันอย่างต่อเนื่องจนประสบผลสำเร็จ  การปฏิบัติงานตามหลักวิริยะ โดยรวม มีความเพียรพยายามรับผิดชอบต่อตนเองและงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นไปในทางที่ดี ด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักจิตตะ โดยรวม บุคลากรผู้ปฏิบัติงานความเอาใจใส่งานแต่ละงาน รายละเอียดของงาน ถ้ามีความเอาใจใส่สนใจงาน รายละเอียดของงาน งานย่อมสำเร็จ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิมังสา คือการใช้ปัญญาในการทำงาน ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เกิดประโยชน์สูงสุด คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น แก้ปัญหาได้ถูกจุดถูกต้องสมบูรณ์ ซึ่งการการปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยใช้อิทธิบาทธรรมทั้ง 4 เป็นสิ่งสำคัญและบุคลากรต้องนำไปเป็นหลักธรรมประจำใจในการทำงานเพื่อให้การปฏิบัติงานสำเร็จลงได้ และยังประโยชน์ให้เกิดกับองค์กรได้เพราะเมื่อมีความพอใจ มีความเพียร มีการเอาใจใส่ และใช้ปัญญาในการทำงานแล้ว การทำงานปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายนั้นก็จะสำเร็จด้วยดี สำหรับผู้บริหารการสั่งงานต้องมีการติดตามผลว่าเสร็จตามที่ตกลงกันหรือไม่ ถ้ายังไม่เสร็จต้องมีเหตุผลพร้อมกับการให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดและให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานเมื่อทุกคนทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดความสามารถก็จะนำผลดีสู่องค์กรสืบต่อไป

 

Downloads

Published

2019-08-07

Issue

Section

Research article