โครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามความต้องการของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรัก จังหวัดเลย

Authors

  • เสาวภา สุขประเสริฐ สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

สุขภาวะชุมชน, โครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, healthy community, projects for enhancing healthy community applying the sufficiency economy

Abstract

         Healthy community is the highest need of community life which is the happy living. The purpose of this research was to propose the projects for enhancing the healthy community to avoid temptation applying the Sufficiency Economy. The qualitative approach was applied in the study focusing on community participation process. The target group was 110 leaders and representatives of 11 villages in Srisongrak Administration Organization. Data was collected through multi-methods by means of documentary studies, observations, interviews and workshop. The instruments were the observation forms, interview schedules and workshop guides. Data was analyzed by content analysis. The results were as follows: The projects that the community proposed for enhancing the healthy community to avoid temptation applying the Sufficiency Economy on saving aspect signified veracity saving fund group, household accounting group, and one baht a day saving group. On community welfares stated the projects of cremation, exercise, saving for production groups and health welfares. On community capitals conservation and utilization stated the projects of Loei River preservation, Phusanao conservation,   kitchen garden and health fence group, and public minds on Buddhist Sabbath days. On community regulation aspect signified the projects of safe rides with low noises, funerals free from alcohols and gambling and reducing buying illegal lottery tickets. These various activities were provided for ways of living with the Sufficiency Economy principles. The results also reflected the important roles of community women to pro-active push all projects to be implemented continuously and efficiently.

 

บทคัดย่อ

         สุขภาวะชุมชนเป็นความต้องการสูงสุดของชุมชนที่มีชีวิตในชุมชนอย่างมีความสุข การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอโครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามความต้องการของชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเน้นกระบวนการที่มีส่วนร่วมของชุมชน กลุ่มเป้าหมายคือผู้นำชุมชนและตัวแทนชุมชน 11 ชุมชน จำนวนชุมชนละ 10 คน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรักจำนวน 110 คน รวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือคือ แบบสังเกต ประเด็นการสัมภาษณ์และประเด็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า โครงการที่ชุมชนร่วมกันนำเสนอ ได้แก่ การเสนอโครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ชุมชนร่วมกันกำหนดด้านการออมคือโครงการสัจจะออมทรัพย์ โครงการทำบัญชีครัวเรือน  โครงการออมวันละบาท เป็นต้น ด้านสวัสดิการชุมชนคือกลุ่มฌาปนกิจ โครงการออกกำลังกาย กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้านและ สวัสดิการการรักษาพยาบาล ด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทุนชุมชน คือโครงการพิทักษ์น้ำเลย โครงการรักษ์ภูสะนาว โครงการผักสวนครัว รั้วสุขภาพ โครงการจิตสาธารณะทุกวันพระเป็นต้น ด้านการสร้างกฎเกณฑ์ชุมชนคือโครงการขับขี่ปลอดภัยไม่เสียงดัง โครงการงานศพปลอดเหล้าและการพนัน โครงการลดการซื้อหวยเป็นต้นโครงการหลากหลายเหล่านี้เป็นกลุ่มกิจกรรม  เพื่อเสริมสร้างการดำเนินชีวิตในชุมชนมีวิถีชีวิตบนหลักความพอเพียงและผลวิจัยยังสะท้อนบทบาทของผู้หญิงในชุมชน มีบทบาทสำคัญในการผลักดันเชิงรุกโครงการต่างๆ ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

 

Downloads

Published

2019-08-07

How to Cite

สุขประเสริฐ เ. (2019). โครงการเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามความต้องการของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรัก จังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 14(48), 89–100. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/150175

Issue

Section

Research article