กฎหมายว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและเสียภาษีสุนัข
Keywords:
การขึ้นทะเบียนและเสียภาษีสุนัข, การจัดสวัสดิภาพสัตว์, dog registration and tax, animal welfareAbstract
Academic articles is a legal study on the issue of controversy over the proposed drafting of a law on animal registration under Prevention of Cruelty and Welfare of Animals Act, B.E. 2557. The purpose of the academic article is to study the laws on the registration of animals and the taxation of animals to provide appropriate guidance and measures by focusing on the dog registration and dog taxation which will lead to further amendments Prevention of Cruelty and Welfare of Animals Act, B.E. 2557. To solve the problem of animal cruelty and animal welfare. The results of the study
1. Enforcement of Prevention of Cruelty and Welfare of Animals Act, B.E. 2557 focuses on prevention of cruelty. In practice, the emphasis should be on animal welfare to make pet owners more responsible for pets.
2. Prevention of Cruelty and Welfare of Animals Bill, B.E. ….. proposed by Ministry of Agriculture to have registration of animals. When considering the intent, it is a requirement of the state to implement the Pet Tax Policy.
3. Beast of burden Act, B.E. 2482 , it is legal to registration beast of burden and registration fee is very low. Registered for each elephant 5 baht and horse, cow, buffalo, mule, donkey 5 satang. When looking at the intent, it is not considered a tax. Because when compared to Prevention of Cruelty and Welfare of Animals Bill, B.E. ….. proposed by Ministry of Agriculture It has a high registration fee is 450 bath for each animal. This Bill is the Pet Tax Policy.
4. Dog registration fee is 450 Bath per year for each dog to be used for Thailand as a dog tax. It is a appropriate rate because when compared to a dog tax in foreign land which rates are much higher and taxation in foreign land from dog tax it, s used for animal welfare. It is not the only income to enter the state.
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้ เป็นการศึกษาข้อกฎหมายถึงประเด็นปัญหาที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการที่มีการเสนอร่างกฎหมายให้มีการขึ้นทะเบียนสัตว์ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 โดยผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความวิชาการเพื่อมุ่งที่จะศึกษาถึงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนสัตว์และการเสียภาษีสัตว์เลี้ยง เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมโดยเน้นไปที่การจดทะเบียนสุนัขและการจัดเก็บภาษีสุนัข ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ ผลการศึกษาได้ข้อสรุปว่า
1. การบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 เน้นไปที่การบังคับใช้ที่เกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมเป็นหลัก ในทางปฏิบัติจึงควรเน้นการบังคับใช้ที่เกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้มากขึ้น เพื่อให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงมากขึ้น
2. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ที่ให้มีการขึ้นทะเบียนสัตว์นั้น เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์แล้วเป็นความต้องการของรัฐที่จะดำเนินนโยบายการจัดเก็บภาษีจากเจ้าของสัตว์เลี้ยง
3. พระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 ซึ่งให้มีการจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสำหรับสัตว์พาหนะนั้น มีค่าธรรมเนียมการจัดทะเบียนที่ถูกมากคือ ช้าง ตัวละ 5 บาท ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ตัวละ 50 สตางค์ จึงมิใช่เป็นการเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ถือว่าเป็นค่าภาษีสัตว์พาหนะแต่อย่างใด เมื่อเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ที่กำหนดอัตราค่าขึ้นทะเบียนสูงสุดถึง 450 บาท จึงเห็นได้ชัดว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเรื่องของนโยบายที่จะเก็บภาษีจากสัตว์เลี้ยงนั่นเอง
4. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนโดยเฉพาะสุนัขในราคารวม 450 บาท ต่อตัวต่อปี ที่จะนำมาใช้กับประเทศไทย ในฐานะที่เป็นภาษีการเลี้ยงสุนัข จึงเห็นว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมแล้ว เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับภาษีสุนัขในหลายประเทศตามข้อมูลที่ได้เสนอไปก็มีอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ไทยจะจัดเก็บหลายเท่า และรายได้ที่ได้จาการภาษีนี้ในต่างประเทศก็นำไปใช้สำหรับเป็นเงินงบประมาณเกี่ยวกับการจัดสวัสดิภาพสัตว์ได้ มิใช่เป็นการหารายได้เข้ารัฐแต่เพียงประการเดียวไม่
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้