ประชาธิปไตยในมิติบทบาทภาคประชาสังคมที่มีต่อยุคไทยแลนด์ 4.0

Authors

  • กุลขณิษฐ์ อดิรุจโชติสิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุรพงษ์ พันชะโก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ผการัตน์ พินิจวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ประชาธิปไตย, ภาคประชาสังคม, ไทยแลนด์ 4.0, democracy, civil society, Thailand 4.0

Abstract

          Thailand stepped into the change of the governing regime from monarchy to democracy by the introduction of the People’s Party on June 24, 1932, that is a system of government by the whole population. As such, the formation of civil society power plays an important role in claiming the government to formulate a policy for developing countries, such as the claim of land in the Northeast, fighting on community rights in case Pak Moon dam, case land for the Par Dong Yai, it is a combination of people to evict the government that cannot solve the problem of the people’s living standard.

          From that occurrence, it is seen that the civil society movement plays a major role and take power to group together to negotiate or claim rights for basic freedoms of themselves. This is an important example of the formation civil society movement. Until now, Thailand has stepped into Thailand 4.0, which is a policy vision or economic development model under the context of "Stability, Prosperity and Sustainability” of government, under the regime of General Prayut Chan-o-cha to push economic structural reform, research and development through educational reform at the same time. This is a combination of all sectors under the concept of "Civil State ", which will result in lower claims on the well-being of the people.

 

บทคัดย่อ

          ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยการนำของคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นระบบการปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ เมื่อเป็นเช่นนี้การก่อตัวของพลังภาคประชาสังคมจึงมีบทบาทสำคัญในการใช้สิทธิเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดแผนนโยบายพัฒนาประเทศ เช่น การเรียกร้องเรื่องที่ดินทำกินในภาคอีสาน การต่อสู้เรื่องสิทธิชุมชนในกรณีเขื่อนปากมูลกรณีที่ดินทำกิน ป่าดงใหญ่ ตลอดถึงการรวมตัวกันของประชาชนเพื่อขับไล่รัฐบาลที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนได้ เป็นต้น

          จากสภาพเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าขบวนการภาคประชาสังคมที่ผ่านมามีบทบาทและมีพลังในการรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองหรือเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของกลุ่มตนเอง นับเป็นตัวอย่างสำคัญของการก่อตัวขบวนการภาคประชาสังคม จนกระทั่งในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายหรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้บริบท “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นรูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ การวิจัยและการพัฒนา ตลอดถึงการปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆ กัน  เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” อันจะส่งผลให้การเรียกร้องเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชนลดน้อยลง

 

 

Downloads

Published

2019-05-14

How to Cite

อดิรุจโชติสิริ ก., พันชะโก ส., & พินิจวัฒน์ ผ. (2019). ประชาธิปไตยในมิติบทบาทภาคประชาสังคมที่มีต่อยุคไทยแลนด์ 4.0. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 14(47), 1–12. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/189059

Issue

Section

Academic article