การพัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

สื่อรณรงค์, ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์, การมีส่วนร่วม, การผลิตสื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์แบบมีส่วนร่วม ในกลุ่มนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อรณรงค์และป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย   ราชภัฏอุดรธานี  2) เพื่อศึกษาผลการรับรู้สื่อรณรงค์การป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้พัฒนาขึ้นจำนวน  2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องเอาเหล้ากลับไป เอาครอบครัวกลับคืนมา และเรื่อง หย่าเหล้าเข้าวิ่ง โดยใช้กระบวนการในการผลิตตามหลัก 3P แบบมีส่วนร่วม โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาทุกขั้นตอนการผลิต  2) ผลการรับรู้สื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้ง 2 เรื่อง มีความพึงพอใจต่อสื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย 4.28  ส่วนด้านการเกิดความตระหนักรู้ของนักศึกษาพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อได้รับชมสื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์  มีค่าเฉลี่ย 4.17

References

กิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ และ สุภาดา เจริญสวัสดิ์. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง การทดลองใช้พลังอำนาจเยาวชนต่อการแก้ไขปัญหาสุรา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (รายงานการวิจัย). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

กรวินท์ กรประเสริฐวิทย์. (2557). ทัศนคติความรู้ความเข้าใจ พฤติกรรม และคุณลักษณะการใช้งานของเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการใช้เครื่องชำระค่าโทรศัพท์อัตโนมัติของประชาชนในกรุงเทพมหานครปี 2558 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ข่าวสภาพัฒน์. (2566). ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2566. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/262750

ข่าวสภาพัฒน์. (2567). ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2567. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=16178

เจริญเนตร แสงดวงแข. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้สื่อที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาตำบลเกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 1-23.

ชนกนารถ บุุญวัฒนะกุล, เมธชนนท์ ประจวบลาภ, เจษฎากร อังกูลพัฒนาสุข และ ฐาณิษา สุขเกษม. (2566). แนวทางการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบของเด็กและเยาวชนในระบบการศึกษาและการศึกษานอกระบบ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 11(2), 27-41.

ธนธร สันติชาติ และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2565). การนำเสนอความเป็นไทยเชิงสัญญะผ่านเนื้อหาคลิปวิดีโอโฆษณาออนไลน์ทางการตลาดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 20-29.

บุญชู บุญลิขิตศิริ และ รสา สุนทรายุทธ. (2566). แนวทางการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ภูเขาซีซานมณฑลกวางสีตามแนวคิดสัญวิทยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(2), 93-106.

พลเทพ วิจิตรคุณากร. (2564). รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://cas.or.th/content?id=33

เสริมศักดิ์ ขุนพล. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การสร้างสรรค์สื่อรณรงค์แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้าใจและลดปัญหาการเสพน้ำกระท่อมในกลุ่มเยาวชนพื้นที่เสี่ยงของจังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). สงขลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-02

How to Cite

สายสีสด เ. (2025). การพัฒนาสื่อรณรงค์ป้องกันการดื่มแอลกอฮอล์แบบมีส่วนร่วมในกลุ่มนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 20(71), 14–22. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/273372