ปัจจัยจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของอาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัยจูงใจ, บทความวิจัย, การตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบปัจจัยจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามกับอาจารย์ทั้งหมดจำนวน 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41-45 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทภายในประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ มีประสบการณ์ในการทำงาน/การสอน 11-20 ปี มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย 1–5 ปี เคยตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ 1 บทความ และผลการทดสอบปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานเท่านั้นที่ส่งผลต่อการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยของอาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
References
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่. (2566). รายงานผลการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2566. เชียงใหม่: ไอรดาก๊อปปี้.
เดชดนัย จุ้ยชุม, รสสุคนธ์ แสงมณี, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์, ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์ และ รจเรช กำแหงกิจ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตีพิมพ์ผลงานทาวิชาการในวารสารระดับนานาชาติของอาจารย์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 1-13.
ธันยา พรหมบุรมย์ และ ผุสดี ใจชุ่มใจ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตีพิมพ์บทความวิจัย/วิชาการในวารสารของบุคลากรสายวิชาการกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/690272
นรา หัตถสิน และ วิริญญา ชูราษี. (2560). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการของอาจารย์: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 19-36.
เนตรนภัส จันทร์พ่วง และ ดุสิต อธินุวัฒน์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของบุคลากรสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 5(1), 1-19.
ประกาศ ก.พ.อ. (2562) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 151 ง. หน้าที่ 13-14. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/151/T_0013.PDF
ประกาศ ก.พ.อ. (2565). เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์
รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 4 ง. หน้าที่ 20 – 50. สืบค้นจาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/004/T_0022.PDF
พรชนก ทองลาด. (2561). การเขียนบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานทำได้อย่างไร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(พิเศษ), 279-291.
พรนิภา วิจารณ์จิต. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำผลงานวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 81-93.
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2565). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565 – 2570). สืบค้นจาก https://plan1.cmru.ac.th/documents/univ/PLAN_2565-2570.pdf
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2567). แผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้นจาก https://www.dhrm.cmru.ac.th/web/wp-content/uploads/2024/04/O-18-CMRU.pdf
ยุทธ ไกรวรรณ. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, ชวลิต ประภาวานนท์ และ สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สิน พันธุ์พินิจ. (2551). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.
Depue, R. A. and Collins, P. F. (1999). Neurobiology of the structure of personality:dopamine facilitation of incentive motivation, and extraversion. Behavior and Brain Sciences, 22(3), 491-517.
Herzberg, F., Mausner, B. and Snyderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้