การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ ของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Authors

  • สุรพงษ์ โพธิ์ขาว คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

การประเมินผลสัมฤทธิ์, การวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ, achievement evaluation, operational human resources planning

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการวางแผนอัตรากาลังคนที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน 2) สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อสมรรถนะของตำแหน่งบุคลากรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ และ 3) สำรวจความคิดเห็นต่อการอุดช่องว่างสมรรถนะความสามารถของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความคิดเห็น (questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 217 คน

ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามการวางแผนทรัพยากรบุคคล ในระดับปฏิบัติการ ของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน คือ ด้านปริมาณ การวางแผนอัตรากาลังที่เหมาะสมกับภารกิจในหน่วยงาน อยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับสมรรถนะของตำแหน่งบุคลากรตาม การวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ คือ ด้านคุณภาพ บุคลากรสามารถสามารถส่งมอบผลงานให้กับผู้บังคับบัญชาได้ตามเวลาที่กำหนดตามสมรรถนะของตำแหน่งบุคลากร โดยสถาบันได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติของตนเองส่งผลให้ผลงานมีคุณภาพมากขึ้น อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการอุดช่องว่างสมรรถนะความสามารถของบุคลากร สถาบันสายสนับสนุน ตามการวางแผนทรัพยากรบุคลากร คือ ด้านการกระจาย สถาบันกำหนดกรอบสมรรถนะตำแหน่งงานตรงกับหน้าที่ และสถาบันได้มีกิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะความสามารถอยู่เสมอ อยู่ในระดับมาก

เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า คุณภาพของงานอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ หน่วยงานมีผลงานที่บรรลุผลสัมฤทธิ์งาน มีความสัมพันธ์ทางบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (r = .766) ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ .01 และปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ ของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน พบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพ และปัจจัยด้านการกระจาย ส่งผลสัมฤทธิ์การวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติ .05 จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า ปัจจัยด้านปริมาณ อยู่ในระดับปานกลาง คือ การวางอัตรากำลังคน ของสถาบันให้มีความเหมาะสมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจของสถาบัน ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการวางแผนอัตรากาลังคนให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของหน่วยงานทั้งสถาบันเพื่อนาไปสู่ผลสัมฤทธิ์ขององค์กรอย่างยั่งยืนต่อไป

 

Achievement Evaluation of Operational Human Resources Planning at : Supporting Personnel Institution level, National Institute of Development Administration, Thailand

The objectives of this research were 1) to survey the opinions toward appropriate operational human resources planning of supporting personnel institution 2) to survey the opinions toward staffs’ competency affecting on effective operation and 3) to survey the opinions toward the gab completion of staffs’ competency and ability. The study of this research is quantitative research and the data were collected using by questionnaires. The research sample consisted of 217 staffs from supporting personnel institution.

The result have found that Opinions of personnel toward implementation of operational level human resource planning of supportive personnel, in the aspects of quantity and suitable man power for unit’s missions, are in moderate level. Opinions of personnel toward performance of personnel position of operational level human resource planning of supportive personnel, in the aspects of quality that personnel are able complete task for superior within time period of each personnel performance, of which the institute has set operational training to develop operational performance for better quality, are in high level. Opinions of personnel toward filling a hole of supportive personnel’s ability performance of human resource planning, in the aspect of distribution which the institute has set framework for position to fit in with role and also try activities for develop performance from time to time, are in very high level.

When studied relations, it have been found that tasks quality are in standard and units have accomplished task, the relations of these 2 factors are positive (r = .766) at .01 statistical significant. Factors affecting accomplishment of operational human resource planning of supportive personnel, have found that, qualitative factors and distribution factor affect toward operational human resource planning) at .05 statistical significant level. From this study, we can conclude that quantitative factors which in moderate level are man power of the institute that suitable with each unit to drive institute’s mission. So, it would be good to focus on man power planning to suit for all units needs for sustainable accomplishment of the organization.

Downloads

How to Cite

โพธิ์ขาว ส. (2015). การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการวางแผนทรัพยากรบุคคลในระดับปฏิบัติการ ของบุคลากรสถาบันสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 10(32), 23–34. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/80126