การศึกษาความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงในการจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • ชัชจริยา ใบลี อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การจัดการงานวิจัย, ความคาดหวังต่อการจัดการงานวิจัย, สภาพการปฏิบัติจริงในการจัดการงานวิจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงในการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ใน 5 ด้าน คือ ด้านอาจารย์  ด้านองค์กรวิจัยของมหาวิทยาลัย ด้านการจัดการคุณภาพงานวิจัย ด้านผู้บริหารงานวิจัย และด้านเครือข่ายการวิจัย  ตามความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ และระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการวิจัย 3 วิธี คือ 1) การวิจัยเอกสาร 2) การวิจัยเชิงสำรวจสถาบัน และ 3) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก  ผลการวิจัย  พบว่า

สภาพการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  โดยภาพรวมทั้ง  5  ด้าน  อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.13)   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน  คือ ด้านองค์กรวิจัยของมหาวิทยาลัย (gif.latex?\bar{X} = 3.32)  ด้านการจัดการคุณภาพงานวิจัย (gif.latex?\bar{X} = 3.26)  ด้านอาจารย์ (gif.latex?\bar{X} = 3.24)  ด้านผู้บริหารงานวิจัย  (gif.latex?\bar{X} = 3.10) และด้านเครือข่ายการวิจัย (gif.latex?\bar{X} = 2.68)  

ความคาดหวังต่อการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวมทั้ง  5  ด้าน  อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.19)   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  อยู่ในระดับมากทุกด้าน  คือ ด้านผู้บริหารงานวิจัย  (gif.latex?\bar{X} = 4.24)  ด้านองค์กรวิจัยของมหาวิทยาลัย (gif.latex?\bar{X} = 4.21)  ด้านอาจารย์ (gif.latex?\bar{X} = 4.20)   ด้านการจัดการคุณภาพงานวิจัย (gif.latex?{\bar{X}} = 4.20)  และด้านเครือข่ายการวิจัย (gif.latex?\bar{X} = 4.11)  

เปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงในการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยภาพรวมในแต่ละด้านและรวม 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และได้แนวทางการพัฒนาการจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  คือ 1) ควรพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยทุกระดับ  ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์  บุคลากรฝ่ายสนับสนุน นักศึกษา และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การวิจัย  2) ปรับโครงสร้างการวิจัยทุกระดับ ทั้งสถาบันวิจัยและพัฒนา  คณะ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการวิจัย ตลอดโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการวิจัย  3) ส่งเสริมการสร้างความตระหนักด้านงานวิจัยเป็นหน้าที่ของอาจารย์ทุกคนต้องทำวิจัย ตลอดจนพัฒนาให้นักศึกษามีส่วนร่วมการวิจัย  4) ควรมีการกำหนดหรือการประเมินนโยบาย/แนวทางการบริหารงานวิจัยทุกๆ 3 ปี  และ 5) ควรสร้างเครือข่ายกับภาคีต่างๆ  เครือข่ายการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ และชุมชน ให้มากกว่านี้  ควรมีการประสานความร่วมมือด้านวิจัยกับต่างมหาวิทยาลัยทั้งภายในและภายนอกประเทศให้มากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-09-30

How to Cite

ใบลี ช. (2012). การศึกษาความคาดหวังและสภาพการปฏิบัติจริงในการจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(21), 59–71. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/106534