ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • กนิษฐา หอมจันทร์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิตย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • วิยะดา วรานนท์วนิช อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ปัจจัยการบริหารจัดการ, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 2) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิธีการศึกษาได้ศึกษาจากประชากรที่เป็นบุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 5,703 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 374 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความแม่นตรงของผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเท่ากับ 1.00 และนำไปทดลองสอบถาม (try-out) กับกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัยพบว่า

                1. ประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านประสิทธิภาพการบริการ รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการปรับตัว ด้านการพัฒนา ด้านความพึงพอใจของบุคลากร และ ความสามารถในการบริการ

                2. ปัจจัยการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย อันดับแรก คือ ด้านวัฒนธรรมองค์การ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านการมีส่วนร่วม ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างองค์การ ด้านภาวะผู้นำ ด้านกระบวนการและเทคโนโลยี ด้านกลยุทธ์องค์การ และด้านงบประมาณ

               3. ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประกอบด้วย ด้านการมีส่วนร่วม ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านโครงสร้างองค์การ สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ร้อยละ 26.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2552). การพัฒนาองค์การสมัยใหม่ [เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ADM 906]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

เตือนใจ เขียนชานาจ. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย รีปทุม, กรุงเทพฯ.

ถวัลย์ รุยาพร. (2558). ต้นแบบที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์การอิสระ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

ทองดี ไชยโพธิ์. (2552). ประสิทธิผลของการบริหารจัดการโรงพิมพ์: กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรงพิมพ์ทองกมลกับโรงพิมพ์คุรุสภา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ปทุมธานี.

ธณัฐพล ชะอุ่ม. (2558). ตัวแบบการบริหารจัดการที่มีผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในเขตภาคกลางของประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วรางคณา กาญจนพาที. (2556). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร: กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2543). การกระจายอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สมหมาย เทียนสมใจ. (2556). รูปแบบการบริหารงานที่มีประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

อาสาสมัครวิกิพิเดีย. (2563). สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ.

Arnold, H.T., & Feldman D.C. (1986). Intergroups Conflict in Organization Behavior. New York: McGraw-Hill.

Hoy, K., & Miskel, G. (2001). Education Administration: Theory Research and Practice(6th ed). New York: Random House.

Reddin, W. J. (1970). Managerial Effectiveness. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-28

How to Cite

หอมจันทร์ ก., เพชรสถิตย์ พ., & วรานนท์วนิช ว. (2021). ปัจจัยการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(56), 75–85. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/243522

ฉบับ

บท

บทความวิทยานิพนธ์