คุณภาพอาหาร ความคุ้มค่าด้านราคา และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนในนครเฉิงตู
คำสำคัญ:
คุณภาพอาหาร, ความคุ้มค่าด้านราคา, สภาพแวดล้อมทางกายภาพ, ร้านอาหารไทยนครเฉิงตูบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญด้านคุณภาพอาหาร ความคุ้มค่าด้านราคา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ และการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนในนครเฉิงตู และ 2) ศึกษาคุณภาพของอาหาร ความคุ้มค่าด้านราคา และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนในนครเฉิงตู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเขตนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าด้านราคาของการมาใช้บริการร้านอาหารไทยในนครเฉิงตู ในระดับมากที่สุด สำหรับด้านคุณภาพของอาหารและสภาพแวดล้อมทางกายภาพผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านคุณภาพของอาหารส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนในนครเฉิงตูมากที่สุดที่ร้อยละ 74 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รองลงมาเป็นปัจจัยด้านความคุ้มค่าด้านราคาและด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคชาวจีนในนครเฉิงตูที่ร้อยละ 32 และ 11 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เกอ ซ่ง. (2559). คุณภาพอาหาร คุณภาพการบริการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพและความใส่ใจในสุขภาพที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิศราวรรณ ไพบูลย์พรพงศ์. (2562). แนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ คุณภาพในการให้บริการ สื่อสังคมออนไลน์ และคุณภาพอาหารที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารเวียดนามซ้ำของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชนครินทร์, 12(2), 13-22.
เปรมฤดี ชัยรุ่งเรืองสิน. (2562). กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจร้านอาหารไทยระดับมิชลินสตาร์ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร สำหรับนักท่องเที่ยวจีน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ละมัย เบาเออร์. (2559). คุณค่าของตราสินค้า การรับรู้คุณภาพในการให้บริการ คุณภาพของอาหาร และบรรยากาศที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารไทยของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน. (2565). ศักยภาพอาหารไทยในนครเฉิงตู. สืบค้นจาก https://chengdu.thaiembassy.org/th/index.
สรรเสริญ สัตถาวร. (2563). อิทธิพลของคุณภาพการบริการ ความคุ้มราคา และอัธยาศัยดีมีไมตรีจิตของพนักงานต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น. วารสารบริหารธรุกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(1), 179-197
สริณโญ สอดสี. (2565). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ คุณภาพอาหาร และความคุ้มค่าด้านราคาที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และความตั้งใจกลับมาใช้บริการซ้ำร้านอาหารระดับหรูของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครเฉิงตู. (2565). อาหารไทยในนครเฉิงตูบูมยอดขายเพิ่ม 2-3 เท่า. สืบค้นจาก https://www.depthai.go.th.
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2566). จับตามองร้านอาหารไทยในแดนมังกร. สืบค้นจาก https://www.ditp.go.th/post/143148.
สุรพงษ์ คงสัตย์ และ ธีรชาติ ธรรมวงค์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (IOC). สืบค้นจาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/14329.
Best, J. W. (1981). Research in Education (3rd ed). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Kim, S. and Lee, J.S. (2013). Is satisfaction enough to ensure reciprocity with upscale restaurants? The role of gratitude relative to satisfaction. International Journal of Hospitality Management, 33, 118-128.
Lee, C.F., John, C.L. and Alice C.L. (2000). Statistics for Business and Financial Economics 1. Singapore: World Scientific
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้