ความผูกพันต่อองค์การและแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เบญจพร เหล่าโนนคร้อ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภิรดา ชัยรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์การ, แรงจูงใจในการทำงาน, พนักงาน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การและระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                ผลการวิจัย พบว่า พนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีความผูกพันต่อองค์การและมีแรงจูงใจในการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ในขณะที่แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2562, 25 กันยายน). อำนาจหน้าที่. สืบค้นจาก http://www.railway.co.th/Home/Index

ธีรวัจน์ หลวงศรีสงคราม. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นัฏชรี สุนทรชัยบูรณ์. (2555). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กร กรณีศึกษา: บุคลากรสายสนับสนุน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ปรียาดา สันตินิยม. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุนโรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

แผนกการเจ้าหน้าที่ กองบริหารงานทั่วไป ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ. (2562). สถิติอัตรากำลัง ประจำปีงบประมาณ 2562. (รายงานประจำปี). กรุงเทพฯ: การรถไฟแห่งประเทศไทย.

พัชราภรณ์ โชติสูงเนิน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจแห่งตนในองค์การ แรงจูงใจในการทำงานการสนับสนุนทางสังคมกับความตั้งใจคงอยู่ในองค์การของลูกจ้างชั่วคราว ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

พัสราพรรณ เพ็ชร์ยาหน. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

พิมลพรรณ แก่นทอง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันกับองค์การของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556, 23 พฤศจิกายน). ความผูกพันของสมาชิกกับองค์กร. สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-60/page1-3-60.html

วริศรา นิ่มทอง. (2558). ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วีระศักดิ์ ติลภัทร. (2557). ปัจจัยการสร้างแรงจูงใจพนักงานฝ่ายปฏิบัติการที่ส่งผลก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กร ของบริษัท มอนซานโต้ไทยแลนด์ จำกัด ในเขตภาคเหนือ (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

สุนันทา เอมหยวก. (2555). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ทรานซิชั่นส์ ออพทิคัล (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

Herzberg, F. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.

Steer, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46–56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

ฉบับ

บท

บทความวิทยานิพนธ์