ผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนจังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ผลกระทบของการท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, วิถีชีวิตคนในชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของผลกระทบต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของวิถีชีวิตคนในชุมชนจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 ชุมชนที่มีชื่อเสียงและความเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านไร้แผ่นดิน ชุมชนขนมแปลก และชุมชนบ้านเกาะจิก จังหวัดจันทบุรี จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและองค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่า องค์ประกอบของผลกระทบของการท่องเที่ยวชุมชน ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบคือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการเมือง และเมื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปรากฏว่าโมเดลกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบทุกตัวมีความสอดคล้องกลมกลืนในระดับดี โดยมีค่าดัชนี Chi-square/df = 2.08, TLI = 0.90, CFI =0.92, NNFI = 0.90 และ RMSEA = 0.07 นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าผลกระทบการท่องเที่ยวด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองเกิดผลกระทบเชิงบวก ส่วนผลกระทบด้านสังคม และผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่ามีผลกระทบเชิงลบกับคนในชุมชนของการพัฒนาการท่องเที่ยว
References
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.thai-german-cooperation.info/admin/uploads/publication/1be798cb24ee07703c498fcd47cbba4den.pdf.
จริยา โกเมนต์, เฉลิมชัย ปัญญาดี, บงกชมาศ เอกเอี่ยม, และ สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2563). นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนกับ ความเป็นปึกแผ่นของชุมชนท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 608-620.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจอินเตอร์โปรเกรสซิฟ.
ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ, และนฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผล กระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. วารสารมหาจฬุานาครทรรศน์, 7(4), 174-189.
เทศบาลตำบลหนองบัว. (2563). ข้อมูลสภาพทั่วไป. สืบค้นจาก http://www.nongbuachan.go.th/about.php?id=6.
ธนวัฒน์ มีจันทร์. (2558). ความคิดเห็นของชุมชนต่อผลด้านสังคมและวัฒนธรรมจากการจัดการ ท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลห้วยเขย่งอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 8(3), 622-635.
นุชประวีณ์ ลิขิตศรัณย์. (2562). ผลกระทบทางการท่องเที่ยวต่อชุมชนรอบบริเวณอุทยานแห่งชาติพุเตย จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(2), 139-150.
ภีรวัฒน์ นนทะโชติ. (2557). ผลกระทบของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่อชุมชนท้องถิ่นที่มีความ หลากหลายทางชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชุมชนบ้านรวมมิตรตำบลแม่ยาวอำเภอเมืองจังหวัด เชียงราย. วารสารการวิจัยกาสะลองคำมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 123-136.
รักษาพล เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และ อุทัยวรรณ ศรีวิชัย. (2563). ผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเกาะพิทักษ์จังหวัดชุมพร. วารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 50-70.
องค์การบริหารส่วนตำบลบางชัน. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2560-2563). สืบค้นจาก http://www.bangchan.go.th/attachments/330_ปก%201.pdf.
Almeida-García, F., Peláez-Fernández, M. Á., Balbuena-Vázquez, A., & Cortés-Macias, R. (2016). Residents' perceptions of tourism development in Benalmádena (Spain). Tourism Management, 54, 259-274.
Asker, S., Boronyak, L., Carrard, N., & Paddon, M. (2010). Effective Community Based Tourism: Best Practice Manual. Gold Coast: Sustainable Tourism Cooperative Research Center.
Byrne, B. M. (2001). Structural equation modeling with AMOS, EQS, and LISREL: Comparative approaches to testing for the factorial validity of a measuring instrument. International journal of testing, 1(1), 55-86.
Field, A. (2007). Discovering statistics using SPSS. London: Sage publications.
García, F. A., Vázquez, A. B., & Macías, R. C. (2015). Resident's attitudes towards the impacts of tourism. Tourism Management Perspectives, 13, 33-40.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.
Kim, K., Uysal, M., & Sirgy, M. J. (2013). How does tourism in a community impact the quality of life of community residents?. Tourism management, 36, 527-540.
Kim, J. O., & Mueller, C. W. (1978). Factor analysis: Statistical methods and practical issues (No. 14). CA: Sage Publications.
Kim, W., Jun, H. M., Walker, M., & Drane, D. (2015). Evaluating the perceived social impacts of hosting large-scale sport tourism events: Scale development and validation. Tourism management, 48, 21-32.
Nunkoo, R., & Smith, S. L. (2013). Political economy of tourism: Trust in government actors, political support, and their determinants. Tourism management, 36, 120-132.
Pusiran, A. K., & Xiao, H. (2013). Challenges and community development: A case study of homestay in Malaysia. Asian Social Science, 9(5), 1.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3nd Ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้