Perception ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร แก้วเพ็ชร นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วรดา แก้วเพ็ชร นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วิลัยพร ยาขามป้อม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคาดหวัง, นักท่องเที่ยว, ดัชนีความสำคัญของความจำเป็น

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และเพื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีความสำคัญของความจำเป็นในการศึกษาความคาดหวังและการับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประชากรที่ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย จำนวน 384 คน โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า

                ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการขาย ด้านสินค้าและด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวและด้านราคา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

                การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านราคา ด้านสินค้าและ  ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการขาย มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

                 สำหรับค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified) ในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการขาย มีดัชนีลำดับความสำคัญของความจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก รองลงมาเป็นด้านสินค้าและด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว ด้านบุคลากร ด้านกระบวนการ และด้านราคา

References

ณัฐวุธ บุศเนตร. (2557). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดหนองมน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น

พรศิริ บินนาราวี. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

เลยผุดสกายวอล์คกระจกในแลนด์มาร์กใหม่พระใหญ่ภูคกงิ้วเชียงคาน. (2561, 20-22 กันยายน). หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, น. 21

สำนักงานจังหวัดเลย. (2562). รายงานประจำปี 2562. เลย: โรงพิมพ์รุ่งแสง.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (ป.ป.ป.). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เหนือขวัญ บัวเผื่อน, ศักดิ์ชาย เพชรช่วย และนันทิยา สมสรวย. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามเส้นทางรถม้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้ภาษาจีนในจังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 667-684.

Chen, Z.. (2560). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการท่องเที่ยวในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-12

How to Cite

แก้วเพ็ชร ภ., แก้วเพ็ชร ว., & ยาขามป้อม ว. (2021). Perception ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์ค อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(58), 46–57. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/251482