การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหารที่มีต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • มินท์ธิตา ถึงฝั่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • นุชรี พิทักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหาร, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน, ผู้อำนวยการกองคลัง

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์และผลกระทบของการประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหารกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 175 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

                ผลการวิจัย พบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหาร ด้านการสื่อสาร มีความสัมพันธ์และผลกระทบ เชิงบวกกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน 2) การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหาร ด้านสารสนเทศ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ดังนั้นผู้อำนวยการกองคลังจึงควรให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหารเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการบริหารงานของตนเอง

Author Biography

มินท์ธิตา ถึงฝั่ง, อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

- ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการบัญชีกับประโยชน์ของงบการเงินของผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในจังหวัดหนองบัวลำภู.

- ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่กับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในจังหวัดอุดรธานี

- อิทธิพลของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีและการปฏิบัติทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการนำเสนองบการเงินในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุดรธานี. 

 

 

 

References

กรณิศา ดิษฐ์เสถียร. (2560). คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563, 23 ธันวาคม). อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบสำนักคลัง. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2020/12/24638_1_1608009960181.pdf.

จันทิมา สาระดี, ศรีรุ่งรัตน์ สุดสมบูรณ์ และ อัครวิชช์ รอบคอบ. (2560). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อความเชื่อถือในการปฏิบัติงานทางการบัญชีของธุรกิจพลาสติกในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 110-119.

จีรนันท์ พรหมมา, อุทิศ พงษ์จิรวัฒนา และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 67-75.

ดวงหทัย ใจภักดี, จรวย สาวิถี และ มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับความสำเร็จองค์กรของธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(1), 143-153.

เทศบาลในประเทศไทย. (2563, 3 พฤศจิกายน). รายชื่อเทศบาลในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://th.wilipedia.org/wiki.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: หจก. สามัญบิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดีล.

ธีรชัย อรุณเรืองศิริเลิศ. (2563, 15 ตุลาคม). หลักการของ การบัญชีบริหาร. สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126276.

นันทนา ภูขมัง, สุวรรณ หวังเจริญเดช และ นิกร ยาสมร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการปฏิบัติงานทางการบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(4), 147-155.

นันทพร พิทยะ และ คณะ. (2552). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

ประภัสสร จรัสอรุณฉาย และ ณัฐวงศ์ พูนพล. (2562). ผลกระทบกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 1-13.

รักชาติ แดงเทโพธิ์ และ นริศรา แดงเทโพธิ์. (2562). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการโสตทัศนศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(4), 81-92.

ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(3), 1051-1062.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2549). การบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สัญชาติ พรมดง, นันทนา นิจจอหอ และนาถรพี ชัยมงคล. (2561). การสร้างประสิทธิภาพของการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 1-10.

อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

Aaker, D. A., V. Kumar and G.S. Day. (2001). Marketing Research (7thed.). New York: John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making (4thed.). New York: John Wiley & Son.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-18

How to Cite

ถึงฝั่ง ม., & พิทักษ์ น. (2022). การประยุกต์ใช้หลักการบัญชีบริหารที่มีต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการกองคลังเทศบาลตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 12–19. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/251761