ทัศนคติของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟน
คำสำคัญ:
ทัศนคติ, นิสิตพยาบาล, สื่อสังคมออนไลน์, สมาร์ทโฟนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.93 และค่าความเที่ยง 0.79 กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ชั้นปีที่ 1 - 4 จำนวน 179 คน ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทัศนคติของนิสิตพยาบาลต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟน ด้วยแบบสอบถาม จำนวน 179 คน ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและนำเสนอค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยนี้พบว่า ทัศนคติของนิสิตพยาบาลต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.36, S.D.= 0.98) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม ( = 3.70, 3.19 และ 3.16, S.D.= 0.99, 0.98 และ 0.98 ตามลำดับ) วัตถุประสงค์ของกลุ่มตัวอย่างต่อการใช้สื่อโซเชียล คือ เรื่องการเรียน การผ่อนคลายความเครียด การสื่อสาร และการขายของออนไลน์ ซึ่งสื่อโซเชียลมีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันเพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การติดตามข่าวสาร การสร้างสัมพันธภาพ และเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมในการใช้สมาร์ตโฟนที่ถูกต้องคือ 1) ผู้ใช้สมาร์ตโฟนต้องมีสติ มีวิจารณญาณในการแยกแยะข้อมูล 2) จัดสรรเวลาในการใช้สมาร์ตโฟนไม่ให้กระทบกับการเรียน 3) ใช้ภาษาในสื่อสารอย่างเหมาะสมในการโพสต์ข้อความ ดังนั้นควรส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ได้เรียนรู้การใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟนอย่างถูกต้อง
References
กชกร วงศ์สุทโธ, เกษร ช่างปรุง, จิรารัตน์ ภูแล่นกี่, ธัญญารัตน์ โหว่สงคราม, ศุภลักษณ์ พรมเมืองขวา และ สุรเกียรติ์ พุทธวงศา. (2560). ทัศนคติของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยบัณฑิตเอเซียต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านสมาร์ตโฟน (รายงานการศึกษาวิจัยพยาบาลศาสตรบัณฑิต). วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, ขอนแก่น.
กมลลักษณ์ อินทร์เอก. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของนักเรียน โรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
จุฑามาศ กิติศรี, รัญชนา หน่อคา และ คนึงนิจ เพชรรัตน์. (2560). พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนและการรับรู้ภาวะสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 19-34.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, ขจร ฝ้ายเทศ, ดวงแก้ว เงินพูนทรัพย์ และ วัลลภา จันทรดี. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 16-31.
ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และ นิรุต ถึงนาค. (2560). การพัฒนาโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ร่วมกับวรรณกรรมบำบัดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 5(1), 69-82.
ณัฐพงษ์ คล่องเชิงสาน. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน ชลบุรี: กรณีศึกษาเฟซบุ๊ก (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2559). พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 48-58.
พรพรรณ จันทร์แดง. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(2), 44-54.
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2560). การขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(49), 59-77.
พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(2), 2363-2380.
เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(2), 946-956.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2561). ผลกระทบจากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 “พลวัตการศึกษายุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล”. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เมธาวี จำเนียร และ กรกฎ จำเนียร. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของนักเรียน จังหวัดนครศรีธรรมราชในการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียน. วารสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(2), 188-195.
วรรณคล เชื้อมงคล, ธีรวิทย์ อินทิตานนต์ และ จตุพร หวังเสต. (2562). ผลของการใช้สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตต่อสุขภาพและผลการเรียนของนิสิตเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(1), 90-98.
ศักดิกร สุวรรณเจริญ, สุพัตรา ธรรมาอินทร์, สุวัฒนา เกิดม่วง, อังค์ริสา พินิจจันทร์ และ พรเลิศ ชุมชัย. (2562). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้สมาร์ตโฟนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนนทบุรี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(6), 107-117.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนฯ 12 ฉบับประชาชนนวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8309&filename=index
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). แนวโน้มคนไทยใช้สมาร์ตโฟน มากขึ้น. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ActivityNSO/A24-05-60.aspx
สิทธา ลิขิตนุกูล. (2559). ใช้สมาร์ตโฟนแบบสมาร์ทๆ ปราศจากโรค. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/816997
เสาวภาคย์ แหลมเพ็ชร. (2559). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. สุทธิปริทัศน์, 30(93), 116-130.
โสมฉาย บุญญานันต์. (2560). การนำเครือข่ายทางสังคมออนไลน์มาใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ศิลปะสำหรับผู้เรียนในยุคการศึกษา 4.0. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 221-232.
อัษฎา พลอยโสภณ และ มฤษฎ์ แก้วจินดา. (2559). การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่น ในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 116-127.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้