ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ผู้แต่ง

  • ชินเชิง แก้วก่า อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สาธิยา กลิ่นสุคนธ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • รัชดาพร คำแก้ว นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การเลือกงาน, นักศึกษาปริญญาตรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษา โดยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย จำนวน 235 คน จากประชากร 604 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมุติฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับปัจจัยมากที่สุด คือ ด้านค่าแรงงานและผลตอบแทน รองลงมา คือ ด้านลักษณะของงาน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง ด้านองค์กร และด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ตามลำดับ

2. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยในการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำแนกตามเพศและสาขา พบว่า นักศึกษาที่มีสาขาแตกต่างกันมีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนนักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานโดยรวมไม่ต่างกัน

References

กระทรวงแรงงาน. (2563, 3 มีนาคม). แนวทางในการตัดสินใจเลือกอาชีพ. สืบค้นจาก https://lb.mol.go.th

จีรนันท์ ไวยศรีแสง. (2552, 1 กุมภาพันธ์). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://library1.nida.ac.th/termpaper6/sd/2552/19568.pdf

นพอนันต์ เพียรมั่นคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกอาชีพของนักศึกษา นักศึกษาสาขาการจัดการการบิน สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานานชาติ ครั้งที่ 7 (น. 24-38). การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติลานานาชาติ ครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์.

พัชรินทร์ ชุติพงศ์รุ่งโรจน์. (2558, 9 มกราคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานกับสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่ 4 แห่ง. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5702030056_3554_2031.pdf

ภาคภูมิ สิงห์แก้ว, ณัฐพล บุญมี, ทศพล ศรีพุฒ, พิณรัตน์ นุชโพธิ์ และ ศุภศิว์ สุวรรณเกษตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชนแผ่นดินธรรม-แผ่นดินทอง ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร. เอกสารการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 "ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0" (น. 984-998). การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ปทุมธานี.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, คณะวิทยาการจัดการ. (2558). 3 ทศวรรษ 30 ปี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ขอนแก่น: เพ็ญพริ้นติ้ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2562). ข้อมูลจำนวนนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2/2561. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. (อัดสำเนา).

ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2559, 10 มีนาคม). การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3584/1/siriporn_ch_Research.pdf

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ และ คณะ. (2560, 5 ตุลาคม). หน้าตาการลงทุนในอนาคตจะเป็นรูปแบบใด. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/columns/news-50289

เสฎฐวุฒิ หนุ่มคำ และ สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ. (2557, 2 กุมภาพันธ์). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของบัณฑิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น. สืบค้นจาก https://tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/24707

เสาวณี จันทะพงษ์ และ ธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์. (2561, 5 มีนาคม). ศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์: ไทยอยู่ที่ไหนและจะสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 อย่างไร. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/118683

อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก และ เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์. (2559). ปัจจัยจูงใจในการเลือกอาชีพราชการ ก่อนและหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551: กรณีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 83-97.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-21

How to Cite

แก้วก่า ช., กลิ่นสุคนธ์ ส., & คำแก้ว ร. (2022). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(60), 62–72. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/255092