มาตรฐานความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบริเวณย่านการค้าเยาวราช
คำสำคัญ:
มาตรฐานความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยว, ความน่าเชื่อถือ, นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ, ย่านการค้าเยาวราชบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับมาตรฐานความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวและระดับความน่าเชื่อถือของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และ 2) ศึกษามาตรฐานความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาในย่านการค้าเยาวราช ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 1-3 คำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม *Gpower ได้จำนวน 138 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับมาตรฐานความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยว ด้านความเป็นธรรมต่อนักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบริหาของผู้ประกอบการ ด้านการให้บริการ ด้านการจัดการของภาครัฐ และด้านสุขอนามัย 2) ตัวแปรอิสระด้านการบริหารจัดการ และ ด้านการจัดการของภาครัฐ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติบริเวณย่านการค้าเยาวราช
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). คู่มือหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยในพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย สำหรับนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว.
กรมควบคุมโรค. (2564, 7 กรกฎาคม). แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในร้านอาหารและสถานบันเทิง สำหรับผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการ. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int_operator/int_operator22_050164.pdf.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564, 12 ตุลาคม). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม - กันยายน 2564 (ปรับปรุงรายได้เดือน ม.ค. - ก.ย. 2564). สืบค้นจาก https://mots.go.th/download/article/article_20210819203823.xlsx.
ขวัญฤทัย เดชทองคำ. (2563). ความสำคัญของคุณภาพการบริการสู่ความสำเร็จของธุรกิจท่องเที่ยวภายใต้วิกฤติ COVID-19. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(3), 317-326.
เดลินิวส์. (2565, 30 เมษายน). ดับฝัน ฟื้นเศรษฐกิจย่านฮิตปีใหม่ “ข้าวสาร-เยาวราช” ทรุด. สืบค้นจาก https://d.dailynews.co.th/bangkok/815933/
ตราดุลย์ นรนิติผดุงการ และ นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์. (2563). การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 174-189.
ทัศติยะ เต็มสุริยวงศ์ และ ศยามล เจริญรัตน์. (2564). การเปลี่ยนผ่านของย่านเยาวราชกับบทบาทด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการปรับตัวของการท่องเที่ยวในสภาวะการแพร่ระบาดโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(7), 432-446.
นพรัตน์ บุญเพียรผล และ พรทิพย์ เรืองธรรม. (2564). แนวทางการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. Journal of Arts Management, 5(3), 827-844.
บัณฑิต ชัยวิชญชาติ. (2563). อุปสงค์การท่องเที่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ. BU ACADEMIC REVIEW, 19(1), 173-186.
ศุศภราภร แต่งตั้งลำ และ อริยา พงษ์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกการเดินทางท่องเที่ยวไทยแบบปรกติใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 12-24.
เอกชัย ชำนินา. (2563). ความสามารถของภาครัฐกับการจัดการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 420-433.
Faul, F., Erdfelder, E., and Buchner, A. (2017). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, & biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39 (2), 175-191.
Nahler, G. (2009). Pearson correlation coefficient in Dictionary of Pharmaceutical Medicine. Springer: Vienna.
Ozdemir, A. M., and Yildiz, S. (2020). How Covid-19 Outbreak Affects Tourists’ Travel Intentions? A Case Study In Turkey. International Social Mentality & Researcher Thinkers Journal, 6(32), 1101-1113.
Shin, H., Nicolau, J. L., Kang, J., Sharma, A., and Lee, H. (2021). Travel decision determinants during and after COVID-19: The role of tourist trust, travel constraints, and attitudinal factors. Tourism Management, 88(2022), 1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้