ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • วรรณนิษา เส้งวุ่น นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภิรดา ชัยรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ยุคดิจิทัล, ปัจจัยในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จำนวน 121 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ ทางเดียว (One-Way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ .05

ผลการศึกษา พบว่า 1) ข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติส่วนใหญ่ มีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการศึกษาดูงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการศึกษา 2) ข้าราชการที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาในการรับราชการ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านนโยบายประเทศไทย 4.0 ด้านความก้าวหน้า ในสายอาชีพ ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ประคอง ยิ่งจอหอ, สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และ สมจิตรา เรืองศรี. (2563). ความต้องการในการพัฒนาตนเองตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(1), 142-150.

สมพร ชีวะพันธ์. (2561). ความต้องการพัฒนาตนเองของครูตำรวจโครงการการศึกษาเพื่อต่อต้านการใช้ยาเสพติดในนักเรียน (ครูตำรวจ D.A.R.E) ในจังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 2(2), 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2564). แนวทางการทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ. สืบค้นจาก www.ocsc.go.th.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2564). แผนกลยุทธ์การยกระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2564 – 2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ.

สุธีรา อัมพาผล และ ปฏิพัทธ์ จันทร์รุ่งเรือง. (2561). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก, 4(1), 51-66.

สุนิษา กลึงพงษ์. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

แสงเดือน เรือนคำ และ พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2564). ความต้องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. Journal of Administrative and Management Innovation, 9(3), 27-35.

อุมาพร แม้นเหมือน และ พิพัฒน์ ไทยอารี. (2564). ความต้องการพัฒนาศักยภาพในการทำงานของบุคลากรในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานภาครัฐ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

Herzberg, F., Mausner, B. and Snyderman, B. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McClelland, D.C. (1987). Human Motivation. New York: Cambridge University Press.

Nadler, Leonard, and Wiggs, Garland D. (1989). Managing Human Resource Development. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29

How to Cite

เส้งวุ่น ว., & ชัยรัตน์ ภ. (2022). ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัลของข้าราชการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(62), 82–91. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/257908

ฉบับ

บท

บทความวิทยานิพนธ์