มูลค่าความเต็มใจยอมรับส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดและอ้อยเผาของเกษตรกร ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ความเต็มใจยอมรับ, อ้อยเผา, การประเมินมูลค่าโดยวิธีการสมมุติเหตุการณ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย พร้อมทั้งประเมินมูลค่าความเต็มใจยอมรับ ส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดและอ้อยเผา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าความเต็มใจยอมรับส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดและอ้อยเผาของเกษตรกรตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 219 ครัวเรือน โดยใช้วิธีการสมมุติเหตุการณ์ประเมินค่าใช้แบบปลายปิดเสนอราคาสองราคา และทำการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกทวิ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เพาะปลูกอ้อย 5-9 ปี มีพื้นที่ปลูกอ้อย 5-14 ไร่ เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวอ้อยโดยเผาทั้งหมดและเผาบางส่วน เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและความสะดวกในการเก็บเกี่ยว ค่าเฉลี่ยความเต็มใจยอมรับส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดและอ้อยเผา เท่ากับ 241.78 บาทต่อตัน โดยประสบการณ์เพาะปลูกอ้อยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าความเต็มใจยอมรับส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยสดและอ้อยเผาในทิศทางตรงกันข้าม
ดังนั้นเพื่อลดการเผาอ้อยของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ควรพิจารณาเพิ่มส่วนต่างเป็น 241.78 บาทต่อตัน โดยเฉพาะจะทำให้ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเพาะปลูกอ้อยจะลดการเผาลงอย่างมีนัยสำคัญ
References
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563, 16 พฤศจิกายน). ระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์. สืบค้นจาก https://agri-map-online.moac.go.th/
กองจัดการพัฒนาคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2564, 17 กุมภาพันธ์). รายงานสถานการณ์ และคุณภาพอากาศประเทศไทย. สืบค้นจาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php?grpIndex=0
ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตร. (2563, 26 ตุลาคม). Fast BI (Farmer Analytic System of Thailand). สืบค้นจาก http://www.aiu.doae.go.th/bi_report/bi_report1/#tabs4
นภสม สินเพิ่มสุขสกุล. (2562). มูลค่าความเต็มในที่จะจ่ายเพื่อการลดมลพิษทางอากาศจากการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยวของครัวเรือนในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดกาญจนบุรี. ใน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (น. 149-158). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
นันทิศา นุชสวาท. (2557). ความเต็มใจยอมรับการชดเชยของเกษตรกรภายใต้โครงการจัดการด้านการเกษตรและการใช้พื้นที่เกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำนอง ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศุภกร โพธิ์เอม, และ สันติ แสงเลิศไสว. (2559). ความเต็มใจยอมรับส่วนต่างราคารับซื้ออ้อยของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 7(13), 20-37.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561, 12 ธันวาคม). รายงานการผลิตอ้อยของประเทศไทย ประจำปีการผลิต 2560/2561. สืบค้นจาก http://www.ocsb.go.th/th/cms/detail.php?ID=923&SystemModuleKey=journal
สำนักบริการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2564, 11 พฤษภาคม). โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิตปี 2563/2564. สืบค้นจาก http://www.sugarzone.in.th/
อายุส หยู่เย็น, นิศาชล ลีรัตนากร และ ชนิตา พันธุ์มณ. (2554). รายงานผลการวิจัยเรื่อง ศักยภาพด้านการตลาดและความเต็มใจจ่ายสินค้าเนื้อสุกรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้