การตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล, การตัดสินใจ, ภาพยนตร์ออนไลน์, เจเนอเรชันวายบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัลและการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค เจเนอเรชันวายในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตภาคเหนือของประเทศไทย จำนวน 384 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาด บุคคล ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการให้บริการ และการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตภาคเหนือของประเทศไทย อยู่ในระดับมาก ส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (β = 0.23) ด้านบุคคล (β = 0.17) ด้านกระบวนการให้บริการ (β = 0.13) ด้านลักษณะทางกายภาพ (β = 0.12) และด้านการส่งเสริมทางการตลาด (β = 0.12) มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคเจเนอเรชันวายในเขตภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ได้ร้อยละ 55
References
จิระภา จันทร์งาม. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสลากดิจิทัล ของลูกค้าธนาคารออมสิน (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
โพสทูเดย์. (2563, 9 มิถุนายน). การก้าวเป็นผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจวิดีโอสตรีมมิ่ง. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/625545
วณิชพงศ์ วณิชปัญจพล และ สุมาลี สว่าง. (2561). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ใช้ บริการพร้อมเพย์ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561 (น. 1148-1158). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี. สืบค้นจาก https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/954/707
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2548). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จามจุีรีโปรดักส์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นจาก https://www.thaipdf.com/2092-thailand-internet-user-behavior-2020
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563 ใน สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
Brand Inside. (2564, 24 มกราคม). โรงหนังกับสตรีมมิ่ง ใครจะเป็นผู้ชนะในศึกแห่งภาพยนตร์. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/cinema-vs-streaming/
Dave, C., and Fiona, E-C. (2016). The impact of digital media and technology on the marketing mix. In Digital marketing (6th ed.). New York: Pearson CSC.
Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.). Thousand Okes CA: Sage.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, G. J., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Jiacheng, Z., Traiwannakij, S., and Srisuk, P. (2020). Factors Influencing Online Shopping Behaviors: The Case Study of HUAWEI Mobile Products. HRD Journal, 11(1), 36-51. Retrieved from http://hrdjournal.buu.ac.th/public/backend/upload/onlinejournal/file/22062020_159281752187776400.pdf
Krejcie, R., V., and Morgan, D., W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. doi: 10.1177/001316447003000308
Kusumawati, R. D., Oswari, T., Utomo, R. B., and Kumar, V. (2014). The influence of 7P's of marketing mix on buying intention of music product in Indonesia. Procedia Engineering, 97, 1765-1771. doi: 10.1016/j.proeng.2014.12.328
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.
PricewaterhouseCoopers Thailand. (2564, 27 มกราคม). PwC ประเทศไทยคาดปี 64 รายได้อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงไทยเฉียด 5.5 แสนลบ. สืบค้นจาก https://www.pwc.com/th/en/press-room/press-release/2021/press-release-27-01-21-th.htm
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้