การกำหนดวิสัยทัศน์การบริการของธุรกิจรีสอร์ท หลังสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 4 กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจรีสอร์ทเครือข่าย ในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย
คำสำคัญ:
วิสัยทัศน์การบริการ, ธุรกิจรีสอร์ทเครือข่าย, โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และบริบทการบริการของธุรกิจรีสอร์ทเครือข่าย 2) ศึกษาแนวทางการกำหนดวิสัยทัศน์การบริการของธุรกิจรีสอร์ทเครือข่าย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาแบบกรณีศึกษาเฉพาะ (Case study approach) รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยผู้บริหารรีสอร์ทประเภทเครือข่ายในเขตภาคตะวันตกที่ได้รับการรับรอง SHA Plus และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวนทั้งหมด 16 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ลักษณะทางภูมิประเทศใกล้กับแหล่งธรรมชาติเป็นจุดขายสำคัญของรีสอร์ท รวมทั้งการออกแบบห้องพักหลากหลายขนาดให้สอดคล้องกับบริการหลัก (Core service) บริการสนับสนุน (Support service) และสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities) 2) แนวทางการกำหนดวิสัยทัศน์การบริการของธุรกิจรีสอร์ทเครือข่าย หลังสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 4 แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Target) (2) กำหนดแนวทางการบริการ (Service concept) (3) กำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ (4) กำหนดการจัดส่งสินค้าและบริการ (Service delivery system)
References
กองกลยุทธ์การตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยด้านการท่องเที่ยว. TAT Review, 8(3), 19-34.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20220503104755.pdf.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). ข้อมูลแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ดารารัตน์ ธาตุรักษ์. (2562). อิทธิพลของการเรียนรู้ขององค์กรและวิสัยทัศน์ระยะยาวที่มีต่อผลการดําเนินงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(1), 56-65.
ธนิษา หาวารี และ บุษรา โพวาทอง. (2565). การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤตโควิด-19 ระหว่าง พ.ศ. 2563-2564 ของโรงแรม ในเขตพัทยาเหนือกรณีศึกษาโรงแรมที่มีการบริหารแบบอิสระขนาดเล็กและขนาดกลาง. สาระศาสตร์, 2565(2), 219-232.
บุญชนะ เจริญผล และ อภิรัตน์ กังสดาพร. (2565). แนวทางการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดน่านกับสถานการณ์ภาวะโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 53-67.
ประเชิญ ติยะปัญจนิตย์. (2565). การจัดการเชิงกลยุทธ์และกลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจกรณีศึกษาโรงแรมบูติคสไตลส์สมัยใหม่ ในภาคตะวันออก. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 50-62.
พงศ์พัฒน์ สัตยาพันธ์ และ กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์. (2565). การพัฒนาหลักเกณฑ์ในการประเมินรูปแบบทางกายภาพของที่พักนักท่องเที่ยว ประเภทรีสอร์ท ที่สอดคล้องกับพื้นที่สวนยกร่อง กรณีศึกษา ตำบลอัมพวา และตำบลสวนหลวง จังหวัดสมุทรสงคราม. สาระศาสตร์, 56(1), 64-76.
พรไพลิน จุลพันธ์. (2565a). ธุรกิจโรงแรม วิกฤตซ้ำ ฉุดยอดเข้าพักวนกลับจุดต่ำสุด. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/916128.
พรไพลิน จุลพันธ์. (2565b). สงคราม-เงินเฟ้อ ทุบซ้ำความเชื่อมั่นโรงแรมเดือนมีนาคม 65. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/business/997785.
ภฤศญา ปิยนุสรณ์ และ ระชานนท์ ทวีผล. (2565). การจัดการช่องว่างคุณภาพบริการของกลุ่มธุรกิจโรงแรมบรรษัทข้ามชาติในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่ามกลางภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอก 3. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 52-63.
ระชานนท์ ทวีผล, และ ภฤศญา ปิยนุสรณ์. (2565). การปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจโรงแรมเครือข่ายระดับนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานคร หลังจากวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 12(2), 138-156.
ระชานนท์ ทวีผล. (2562). แนวทางการจัดการอัตลักษณ์โฮมสเตย์ไทย กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 22-33.
ลลิดา สุกรี และ ระชานนท์ ทวีผล. (2565). องค์ประกอบการออกแบบตกแต่งภายในที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจโรงแรมของกลุ่มนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซด กรณีศึกษาธุรกิจโรงแรม ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(2), 15-42.
วินิต ราลีละพัฒนา, กีรติ ตระการ ศิริ วานิช, ยุทธการ ไวยอาภา, และ สุธี ราสิทธิกุล. (2565). รูปแบบการปรับตัวเชิงบริหารของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาด เล็กในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 11(2), 178-187.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานวิเคราะหส์ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2564. กาญจนบุรี: สํานักงานสถิติจังหวัดกาญจนบุรี.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2563). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการท่องเที่ยว: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: ศิริชัยการพิมพ์ จำกัด.
เสาวณี จันทะพงษ์ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19: วิเคราะห์จากหลักคิด Outside-In. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_26Oct2021.pdf.
Alserhan, B., Zeqiri, J., Gleason, K., Said, B., and Armutcu, B. (2023). Positioning of Islamic Hotels: A Correspondence Analysis Approach. GeoJournal of Tourism and Geosites, 46(1), 108-117.
Firth, G. (2018). Service Operation Management. New York City: Willford Press.
Macmillan, T. (1971). The Delphi Technique, Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California.
Seyitoğlu, F., and Ivanov, S. (2023). Service robots and perceived discrimination in tourism and hospitality. Tourism Management, 96, 104710.
Yusiani, D. S., Kusrini, E., and Kasim, E. S. (2023). The strategy for mitigating risk in sharia hotels based on the DSN-MUI Fatwa regarding the service and restaurant operational aspects. Jurnal Ekonomi & Keuangan Islam, 9(1), 17-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้