สมรรถนะและคุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้แต่ง

  • เนตร์ศิริ เรืองอริภักดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ปุณณ์ชิสา สีตองอ่อน อาจารย์ประจำสาขาวิชาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • หรรษมน บัวลม นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • กุลณัฐน์ กลิ่นมาลัย นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • วิมลรัตน์ ธันวาเทียม นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สุภาวิดา วิเชียรกรอ นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ชิดชนก ฮวบกระโทก นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ศุภกร แก้วธนะสิน นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

สมรรถนะ, คุณภาพการให้บริการ, ภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย 1) ศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  2) ศึกษาสมรรถนะที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  3) ศึกษาคุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล สมรรถนะ และคุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เก็บข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ จำนวนทั้งสิ้น 390 คน สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติ t-test สถิติ F-test (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในด้านสมรรถนะ และคุณภาพการบริการ มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด โดยด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการยึดมั่นความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิพบว่ามีความสัมพันธ์มากที่สุดในด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ ดังนั้นสนามบินสุวรรณภูมิควรให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการโดยเน้นด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ส่งเสริมให้มีการจัดการฝึกอบรมการปฏิบัติงาน หรือมีคู่มือการปฎิบัติงานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแบบยั่งยืน

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2565, 02 ธันวาคม). เปิด 10 อันดับ. “สนามบินที่ดีที่สุดในโลก 2022" จากสกายแทร็กซ์. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/business/529271.

ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา, พระนครศรีอยุธยา.

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (2562, 15 พฤษภาคม). แผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560-2564) ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.airportthai.co.th/wp-Content/uploads/2019/06/

เรวัฒน์ วิวัฒน์ปฏิภาณ. (2561, 5 กันยายน). ภาพลักษณ์องค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธนาคารออมสิน กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก http://www.baabstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-8_1566464540.pdf

วริสรา สุกุมลจันทร์. (2564). รายงานการวิจัย เรื่อง การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญญบุรี.

วิลาสินี จงกลพืช. (2563, 5 กันยายน). คุณภาพการให้บริการในมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อธุรกิจเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์กรณีศึกษา บริษัท เอ็น เค แลบอราทอรี (ประเทศไทย) จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี, เพชรบุรี.

โศภิษฐา เต็มรัตน์. (2561, 5 กันยายน). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำในโรงแรม ระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี, เพชรบุรี). สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2044/1/59602703.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561, 29 กันยายน). การพัฒนาสมรรถนะหลัก (สําหรับข้าราชการใหม่). สืบค้นจาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/aptitude/development.pdf

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2565, 20 สิงหาคม). คน...ผู้สร้างภาพลักษณ์องค์กร. สืบค้นจาก https://www.Siamhrm.com/?name=management&file=readnews&max=74

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed). New York: John Wiley and Sons Inc.

McClelland, D.C. (1973). Test for Competence, rather than intelligence. American Psychologists, 17(7), 57-83.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Marketing, 64, 12-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

เรืองอริภักดิ์ เ., สีตองอ่อน ป., บัวลม ห., กลิ่นมาลัย ก., ธันวาเทียม ว., วิเชียรกรอ ส., ฮวบกระโทก ช., & แก้วธนะสิน ศ. (2023). สมรรถนะและคุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 18(66), 11–21. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/263101