อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว สู่การสร้าง Soft Power ของอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
อัตลักษณ์, ข้าวปุ้นน้ำนัวเรณู , การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น, ซอฟต์พาวเวอร์บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง อัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัวสู่การสร้าง Soft Power ของอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและประเมินศักยภาพของอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว 2) วิเคราะห์คุณค่าและอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว 3) นำเสนอแนวทางการสร้าง Soft Power การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ทั้งนี้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นการเลือกแบบเจาะจงบุคคลที่มีประสบการณ์และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว ได้แก่ นักท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักเชิงคุณภาพ คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 4 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัจจุบันของการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น ประสบปัญหาทางด้านวิเกฤตเศรษฐกิจ และสถานการณ์โควิด-19 ทำให้วัตถุดิบมีราคาที่สูงขึ้น ส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัวขายได้ลดลง 2) ทางด้านคุณค่าและอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น สามารถแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอำเภอเรณูนครที่เด่นชัดในเรื่องข้าวปุ้นน้ำนัวเรณูที่มีเอกลักษณ์รสชาติที่โดดเด่น และ 3) แนวทางการสร้าง Soft Power การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นประเภทข้าวปุ้นน้ำนัว ได้แก่ 3.1) ควรมีการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอาหารพื้นถิ่นที่เด่นชัดขึ้น 3.2) มีการกำหนดมาตรฐานความสะอาดของอาหาร 3.3) พัฒนาอัตลักษณ์ข้าวปุ้นน้ำนัวเรณูให้สามารถสื่อความหมายเป็นสัญลักษณ์ของการท่องเที่ยวประจำจังหวัดนครพนม 3.4) ควรมีการดำเนินการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยว ช่วยส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืน โดยการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นแก่นักท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์ในส่วนของสินค้าหรืออาหารท้องถิ่น รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการร้านอาหารพื้นถิ่นรวมถึงผู้ให้บริการการท่องเที่ยว
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2566). กระทรวงวัฒนธรรม เดินหน้าผลักดัน SOFT POWER ดึง “เบิร์ด-ธงไชย” ถ่ายทอดเสน่ห์วัฒนธรรมผ่านบทเพลง “ฟ้อนทั้งน้ำตา”. สืบค้นจาก https://www.thaimediafund.or.th/020366-2/
กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร. (2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิราภรณ์ พรหมเทพ และ ดุษฎี ช่วยสุข. (2565). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารชุมชนอาจสามารถจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 30-40.
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 24(1),103-116.
พระอธิการสฤษธิ์ มหายโส (ฉัตรทอง), อุดมลักษณ์ ระพีแสง และจำลอง แสนเสนาะ. (2566). การสร้างความยั่งยืนทางอาหารท้องถิ่นของจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรําไพพรรณี, 17(3), 15-23.
ภัทรพร พันธุรี. (2558). การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 27-37.
สุภาพิชญ์ ถิระวัฒน์. (2565). Soft Power อำนาจละมุน. สืบค้นจาก https://library.parliament.go.th/th/radioscript/rr2565-may7.
วิมลรักษ์ ศานติธรรม. (2565). Soft Power พลังแห่งการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Herrera, C. F., Herranz, B. J., and Arilla, J. M. P. (2012). Gastronomy’s importance in the development of tourism destinations in the world. Madrid, Spain.: World Tourism Organization. Retrieved form https://www.researchgate.net/publication/283579436_Gastronomy's_importance_in_the_development_of_tourism_destinations_in_the_world_Ref_Revista_Global_Report_on_Food_Tourism_AM_Reports_Volume_four_World_Tourism_Organization_UNWTO_2012_pp_6-9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้