ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการขยะพลาสติกของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ อาจารย์สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ประภากร ศรีสว่างวงศ์ อาจารย์โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การจัดการขยะพลาสติก, ขยะพลาสติก, ประชาชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการจัดการขยะพลาสติกประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการขยะพลาสติกของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม ประชากรจำนวน 45,881 คน โดยคำนวณขนาดตัวอย่างได้ 380 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และรวบรวมรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระยะเวลา ในการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ถึงเดือนตุลาคม 2566  และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 50.8 มีอายุเฉลี่ย 37.15 ปี ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะพลาสติกอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}= 8.56, S.D.= 0.11) ด้านเจตคติพบว่าประชาชนไม่แน่ใจเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติก (gif.latex?\bar{X}= 2.36, S.D.= 0.31) และด้านการจัดการขยะพลาสติกประชาชนส่วนใหญ่ปฎิบัติเป็นบางครั้ง (gif.latex?\bar{X}= 1.85, S.D.= 0.24) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการขยะพลาสติก พบว่า อายุ  ปัจจัยด้านความรู้ ปัจจัยด้านเจตคติ มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่นควรมีรูปแบบการจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อาทิการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยและเหมาะสมต่อประชาชนตามบริบทชุมชนเมืองต่อไป

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://www.pcd.go.th.

กองทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชน. (2565). พื้นที่อำเภอเมืองมหาสารคาม. สืบค้นจาก https://mkm.go.th.

กองสื่อสารองค์การ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). โทษของโฟมและพลาสติก. สืบค้นจาก https://cci.rmutp.ac.th

จอมจันทร์ นทีวัฒนา และ วิชัย เทียนถาวร. (2560). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลดขยะชุมชนแม่กา อําเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 25(2),316-330.

รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. (2566) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคัดแยกขยะพลาสติกของประชาชนในเขตพื้นที่บ้านท่าแร่ ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมืองมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 12(1), 70-77.

ศุภษร วิเศษชาติ, สมบัติ ศิลา และสุนิศา แสงจันทร์ (2560) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เมืองวังน้ำเย็นจังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(2), 422-445.

สมพงษ์ แก้วประยูร. (2558). ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองควนลัง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2563) วิกฤตขยะพลาสติก ถูกซ้ำเติมโดยโควิด-19. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=65

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม. (2564). การพัฒนาด้านเศรษฐกิจสังคม. สืบค้นจาก https://mahasarakham.mnre.go.th.

Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: Science Press.

Krejcie, R., and Daryle, W. (1970). Determining Sample Size to Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 3(1970), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-02

How to Cite

ศรีสุภักดิ์ ร., & ศรีสว่างวงศ์ ป. (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดการขยะพลาสติกของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 19(68), 64–71. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/269267