ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่มีผลต่อระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนบุคคล, สิ่งแวดล้อมในองค์กร, ความเครียดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กรของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 นาย โดยการดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สูตรของของเครซี่และมอร์แกน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน โดยมี ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 2) ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กรของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า มีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมในองค์กร ด้านบทบาทและความรับผิดชอบในการทำงานในระดับมาก และในระดับน้อยที่สุดคือด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ 3) ระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า การศึกษาสถานภาพการสมรสแตกต่างกัน มีระดับความเครียดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาการทำงาน ที่แตกต่างกัน มีระดับความเครียดที่ไม่แตกต่างกัน และ 4) สิ่งแวดล้อมในองค์กรที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย พบว่า สิ่งแวดล้อมในองค์กรด้านโครงสร้างและบรรยากาศองค์กร ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ และด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในองค์กร มีผลต่อระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตามยังพบว่า ด้านลักษณะงาน และด้านบทบาทและความรับผิดชอบในการทำงาน ไม่มีผลต่อระดับความเครียดของเจ้าหน้าที่ส่วนสารวัตรทหาร กองพันทหารสารวัตร สำนักกองบัญชาการ กองบัญชาการกองทัพไทย
References
จันทร์จิรา ปัญญา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานชำแหละไก่ในโรงงานแห่งหนึ่ง จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
ชัชดา หลงพิมาย. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของทหารเรือในจังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ญาณิภา จันทร์บำรุง. (2555). ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานกรณีศึกษา บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ณกร คำเมือง. (2564). สิ่งแวดล้อมในองค์กรที่มีผลต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงอากาศยาน ฝ่ายการช่าง ฝูงบิน 601 กองบิน 6 (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ตุ๊กตา บุรีรัม. (2560). ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคม, 8(2), 32-47.
นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี, บัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564, 66(1), 53-68.
ภัคกัญญา พงษ์ภู่, ภาสกร จันทน์พยอม (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจค้น บุคคลและสัมภาระที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(4),152-166.
วันดี ผ่องใส. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายในองค์กรกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงพิมพ์สำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566 – 2570 (ฉบับที่สิบสาม). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13651.
Krejcie and Morgan, (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Nunnally, (1978). Psychometric Theory, New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้