ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การส่งเสริม, การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ความต้องการการส่งเสริมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3,673 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน .05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 ราย โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย โดยการจับฉลากเครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ ซึ่งพบค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.886 และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับ และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคุณ ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรร้อยละ 57.8 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.74 ปี มีประสบการณ์ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 17.84 ปี มีการอบรมเรื่องการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 0.79 ครั้ง/ปี มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 19.40 ไร่ เกษตรกรต้องการได้รับการส่งเสริม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34) เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า เกษตรกรต้องการการส่งเสริมอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการดูแลรักษา (ค่าเฉลี่ย 3.73) รองลงมาด้านต้นทุนการผลิต (ค่าเฉลี่ย 3.67) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรคือ ความรู้เรื่องการดูแลรักษาและต้นทุนการผลิต ปัจจัยที่มีผลมีต่อความต้องการการส่งเสริมคืออายุ และประสบการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อเกษตรกรมีอายุและประสบการณ์เพิ่มขึ้นมีจะมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง. สืบค้นจาก https://farmer.doae.go.th/report/report66/report_corn_66_fmdfbd
กิตติกานต์ ศรีธิทอง. (2564). การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรกร ในจังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี
ประมวล บัวกฎ. (2562). การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี
มลธิชา ทาอาสา. (2561). แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งของเกษตรของเกษตรกร ในพื้นที่อำเอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี
ศรัณยา ปัญญายืน, สายสกุล ฟองมล, พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ กังสดาล กนกหงส์. (2563). ปัจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรอำเภอปาน จังหวัดลำปาง. วรสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 40(3), 127-137.
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. (2565). หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm). สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/fc/nakhonsawan/?p=1332
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ข้อมูลเศรษฐกิจเกษตรข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นจาก https://impexpth.oae.go.th/
Best, J.W. (1981). Research in Education. (3rd ed.) Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice hall, Inc.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) Harper and Row Publication, New York, USA. 1130 pp.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้