การศึกษาอัตลักษณ์และการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสระบัว

Main Article Content

พวงชมพู ไชยอาลา Phuangchomphu Chaiala
แสงรุ่ง เรืองโรจน์ Sangrung ruengroj

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์และการสื่อความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสระบัว อำเภอนาดูน จังหวัด
มหาสารคาม” เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชนสระบัว 2) เพื่อค้นหาแนวทาง
การสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน จากการศึกษาพบว่า สมาชิกในชุมชนมีการรับรู้อัตลักษณ์ของตน 3 ด้าน
เรียงลำดับดังนี้ 1) เป็นชุมชนที่สมาชิกมีศีลธรรม (ค่าเฉลี่ย 3.86, ระดับมาก) 2) เป็นชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับนครจำปาศรี
(ค่าเฉลี่ย 3.74,ระดับมาก) 3) เป็นชุมชนพัฒนาต้นแบบ (ค่าเฉลี่ย 3.53, ระดับมาก) อย่างไรก็ตามเมื่อนำการรับรู้อัตลักษณ์ของสมาชิก
ชุมชนในแต่ละช่วงอายุมาเปรียบเทียบกัน จะพบว่าเยาวชน (อายุ 6-18 ปี)มีการรับรู้อัตลักษณ์น้อยกว่าผู้ใหญ่ (อายุ 36-60 ปีขึ้นไป) ดัง
นั้นการวิจัยครั้งนี้จึงได้จัดกระบวนการการเรียนรู้อัตลักษณ์ของชุมชนให้กับกลุ่มเยาวชน โดยการสร้างกิจกรรมการผลิตภาพยนตร์สั้น
และฐานกิจกรรมเรียนรู้ภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ของชุมชนให้แก่เยาวชน ซึ่งนอกจากจะเป็นการเรียนรู้และสืบทอดอัต
ลักษณ์แล้วยังเป็นฝึกทักษะการสื่อสารที่สามารถนำไปใช้ในการสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน
ผลจากการจัดกิจกรรมพบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความเข้าใจ (ค่าเฉลี่ย 4.55, ระดับมากที่สุด) และภูมิใจ(ค่าเฉลี่ย
4.55,ระดับมากที่สุด) ในอัตลักษณ์ของชุมชนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ผ่านการจัด
ป้ายนิทรรศการ (ค่าเฉลี่ย 5.00,ระดับมากที่สุด) สื่อสังคมออนไลน์ (ค่าเฉลี่ย 4.90, ระดับมากที่สุด) สื่อวิทยุชุมชน/หอกระจายข่าว
(ค่าเฉลี่ย 4.38,ระดับมาก) และสื่อภาพยนตร์สั้น (ค่าเฉลี่ย 4.38 และ 3.69,ระดับมาก) รวมไปถึงการได้รู้จักผู้ใหญ่ในชุมชน
(ค่าเฉลี่ย 4.45,ระดับมาก) และเกิดการสื่อสารกับปราชญ์ชุมชนมากยิ่งขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.34,ระดับมาก)
ผลจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการพบว่า แนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมีดังนี้ 1) การสื่อสารภายในชุมชน
ควรมีบทบาทในการเป็นกลไกให้ชุมชนจัดการทรัพยากร และบทบาทในการประกอบสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชน เพื่อสร้างการการมีส่วน
ร่วมในการเข้ามาบริหารจัดการท่องเที่ยว และมีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชุมชน โดยใช้การจัดป้ายนิทรรศการ สื่อวิทยุชุมชน/
หอกระจายข่าว รวมทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่ชุมชนมีการใช้อย่างประจำ 2) การสื่อสารภายนอกชุมชน
ควรมีบทบาทในการกระตุ้นความสนใจของนักท่องเที่ยว บทบาทในการสร้างความหมายให้กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และบทบาท
ในการให้ความรู้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความต้องการเดินทางมาท่องเที่ยว และเข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติตนเมื่อเข้ามาท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมในชุมชน โดยใช้การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเป็นสื่อที่ง่ายต่อการเข้าถึงและแพร่กระจายข้อมูลและก่อให้เกิดการเรียน
รู้ที่ต่อเนื่อง โดยการสื่อสารทั้ง 2 ประเภทนี้ เยาวชนสามารถเป็นผู้ส่งสารได้ โดยมีปราชญ์ชุมชนเป็นที่ปรึกษาด้านเนื้อหา และครูใน
โรงเรียนบ้านสระบัวเป็นที่ปรึกษาการรู้เท่าทันสื่อ

The research topic “Identity study and meaning communication for promoting tourism in Ban SraBua”
is a participatory action research. The objectives of the research are 1)to identify identities of Ban SraBua
community 2) to identify guidelines used to communicate community’s identities for promoting Ban SraBua
community. The research found that the community members were aware of 3 key identities which are 1) the
community members are moral. ( = 3.86,high level) 2) the community can somewhat relate to Ancient city
NakornJumpasri ( = 3.72, high level) 3) the community is a master of development community ( = 3.53,
high level). However, when compared the identity perception between members in various spans of ages. It
found that the youth (6-18 years old) perceive identity less than the adults do (36-more 60 years old). Thus,
this research used local wisdom and short film production as the tools for the youth to learn and inherit the
community identity. Besides, the activities helped them practice their communication skill so they can effectively
communicate the community identity for promoting anSraBua community.
The results show the participating youth understand ( = 4.59, highest level) and took pride ( = 4.55,
highest level) of community identity. Confidence in their potential for communicate community’s identities in
bulletin board ( = 5.00, highest level) social media (= 4.90, highest level) community radio/ tower
broadcasting (= 4.38, highest level) short media( = 4.38, high level) be familiar with adult in community
(x = 4.45, high level) more communicate with local scholars ( = 4.34, high level)
The guideline to communicate community’s identities for promote Ban SraBua community are 1) the
communication in community : The communication ought tomove community for manage community resource
by themselves and construct the identity for promote the participatory tourism management and have the
pride in community’s identities by bulletin board, community radio/ tower broadcasting, interpersonal
communication which the channel that is used in community 2) the communication outside community: The
communication ought to stimulate the tourist attention , construct the meaning and educate for heritage
tourism . For urge the tourist to travel Ban SraBua community and understand the way for performance when
travel in the heritage tourism by social media which ease of access to and dissemination of information and
continuous learning. The 2 types of communication, the sender can be the youth through the local wisdom
can be adviser in contents and the teacher of Ban SraBua School can be adviser in media literacy.

Article Details

บท
บทความวิจัย