แนวทางการพัฒนาการบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25;Guidelines for Developing of Administration by Using School - Based of Subject Schools in the Secondary Educational Service Area Office 25

Main Article Content

ทรงศิลป์ อินกกผึ้ง1 Songsin Inkokphung1
บังอร แถวโนนงิ้ว2 Bangorn Thaewnon-Ngiew2
กาญจน์ เรืองมนตรี3 Korn Rungmontri3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 25 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 25 ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้
อำนวยการ ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 250 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย (Simple random
Sampling) ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน
24 คน เลือกแบบเจาะจงจากโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practice) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถาม มีค่าอำนาจ
จำแนกตั้งแต่ 0.37-0.78 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และ 3) แบบประเมินความเหมาะสม
และความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ใน
แบบพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 25 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
การประกันคุณภาพการศึกษา แต่งตั้งคณะทำงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา สนับสนุนให้มี “ที่ประชุมเครือข่ายภาคประชาชน
ในระดับภูมิภาค”เพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบการทำงานของโรงเรียน ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจใน
การกำหนดแผนกลยุทธ์เป็นแนวดำเนินการของโรงเรียน ผู้บริหารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน มีการพัฒนาตนเองในการเป็นนัก
แสวงหา รอบรู้และประสานประโยชน์ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องและตรงกับความ
ต้องการของท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการระดมทรัพยากรจากท้องถิ่นในการจัดการศึกษา มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา
คุณภาพการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกระจายอำนาจหน้าที่การบริหารไปยังคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดอบรม สัมมนาอย่างทั่วถึง

The purpose of this study were to 1) study current and desirous state of administration by using school
- based of subject schools in the secondary educational service area office 25 2) study guidelines for developing
of administration by using school - based of subject schools in the secondary educational service area office
25. The processing of the study was divided into 2 phases. Phase 1: the sample of the study consisted of
250 people, directors, deputy directors, representatives of school boards and teachers, taken by simple
random sampling. Phase 2: the target group consisted of 24 people, directors, deputy directors, representatives
of school boards and teachers, taken by purposive sampling of the best practical school. The instrumentations
of the study were 1) questionnaire which had 0.37-0.78 discrimination value and 0.87 reliability value of all
the copy 2) structural interview and 3) suitability and possibility assessment. The numeral data in this study
was analyzed by percent, mean, standard deviation of the mean and the data from interview was analyzed
by descriptive analysis.
The results showed that:
1. The current and desirous state of administration by using school - based of subject schools in
the secondary educational service area office 25 was generally in various rank.
2. The guidelines for developing of administration by using school–based was composed of promoting
teachers to attain accurate knowledge and comprehension about quality assurance in education; appointing
working group for quality assurance in education; supporting for “local public network meeting” to be a
mechanism of school working check; advising the school boards to have authority of strategy regulating of
school processing; advising director to have a good interaction to community and to be self-developing of
seeker, expert of advantage; promoting every segment to participate in creating local curriculum which
accorded and with local requirement; promoting and supporting for local resources assembling in education;
participating in planning quality educational development; and advising the directors to decentralize of
administration to school boards by providing throughout the training and seminar

Article Details

บท
บทความวิจัย