รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน จังหวัดอุดรธานี;A Model of Development for Drugs Use Behavior of People in Udon Thani Province

Main Article Content

ณัฏฐสีห์ ศรีจันทร์แก้ว1 Natthasri Srijunkaew1
รังสรรค์ สิงหเลิศ2 Rungson Singhalert2
อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร3 Orranuch Wongwatthanasathain3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 2)
เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบ
การพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิง
ปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรงและส่งผลทางอ้อม ต่อพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดย
กำหนดปัจจัยเชิงสาเหตุ 5 ปัจจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400
คน ผู้วิจัยได้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง ใช้โปรแกรมลิสเรล โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (Level of significent
.05) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพสร้างรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ผู้วิจัยนำผล
การวิจัยที่ไดจ้ ากการวิจัยระยะที่ 1 มาสรา้ งรูปแบบ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผเู้ ชี่ยวชาญ นักวิชาการ และผมูี้สว่ นเกี่ยวขอ้ งจำนวน
20 คน ใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshops) และอภิปรายผลทั้งหมดในที่ประชุมใหญ่ร่วมกันพิจารณา แล้วส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ 3
ท่าน ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอีกครั้งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนนำไปทดลองใช้ ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูป
แบบการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี กลุ่มทดลอง คือ ประชาชนในพื้นที่อำเภอนํ้าโสม จังหวัด
อุดรธานี จำนวน 36 คน เปรียบเทียบผลการทดลองก่อนและหลังการใช้รูปแบบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ร่วมหลายตัวแปรตาม ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าปัจจัย เชิงสาเหตุที่ส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อ
พฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน จังหวัดอุดรธานี อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 5 ปัจจัย เรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์
อิทธิพลรวม ดังนี้ ปัจจัยด้านเจตคติต่อการใช้ยา (0.39 ) ปัจจัยด้านคำแนะนำการใช้ยา (0.22) ปัจจัยด้านความตระหนัก (0.11) ปัจจัย
ด้านความรู้เกี่ยวกับใช้ยา(0.09) และ ปัจจัยด้านระดับการศึกษา (- 0.06)
2. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมการใช้ยาของประชาชน จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วยกิจกรรมในการพัฒนารูปแบบ จำนวน 7
กิจกรรม คือ 1)กิจกรรม รู้เรื่องยา 2) กิจกรรมสอนได้ บอกถูก 3) กิจกรรม 5 ส. 4) กิจกรรม คนเรา ตัวเรา 5)กิจกรรม เยี่ยมบ้าน
6) กิจกรรม เป้าหมายมีไว้ พุ่งชน และ 7) กิจกรรม บทบาทสมมติ
3. หลังการทดลองใช้รูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ในกลุ่มทดลอง มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา มีความตระหนัก มีการให้คำแนะนำ 

การใช้ยา และ มีเจตคติต่อการใช้ยา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งการทดสอบโดยรวม (Multivariate
test) และการทดสอบทีละตัวแปร (Univariate test)

This research aimed 1) to analyze causal factors affecting drugs use behavior of people in Udon thani
province, 2) to design a model of development for drugs use behavior of people in Udon thani province, and
3) to implement and evaluate the model of development for drugs use behavior of people in Udon thani
province. The research methodology was divided into 3 phases. 1) analysis of causal factors, 2) design of a
model and 3) implementation and evaluation of a new model. Phase 1 focused on analyzing causal factors
that affecting drugs use behavior of people in Udon thani province through quantitative research, and analyzing
the relationships between the causal factors to the empirical data. The target population of consisted 400
people in Udon thani province. The data were collected by questionnaires. LISREL for windows was used to
analyze a structural equation model. The causal factors affecting the dependent variables were analyzed with
the empirical data. Phase 2 focused on designing a model of development for drugs use behavior of people
in Udon thani province for drugs use behavior of people based on the data of phase 1. The model was
designed through workshop of 20 participants. The focus group method was employed for discussion on the
model of development for drugs use behavior of people, and the developed model was assessed by three
experts. Phase 3 focused on implementing and evaluating the model. The model was implemented to 36
experimental participants, and the model evaluation was identified by the comparison of the research results
before and after model implementation, and the comparison of the results of the experimental groups and
control group. Multivariate Analysis of Covariance was employed for data analysis.
The major findings were as follows:
1. According to the analysis of the relationship and the empirical data, the finding showed that 5
factors significantly affected the drugs use behavior of people in Udon thani province at the .05 level. The
factors were Attitudes(0.39), Suggests(0.22), Awareness(0.11), Knowledge(0.09) and Education (-0.06).
2. The model of development for drugs use behavior of people in Udon thani province consisted
of 7 activities : 1) Learning about Drugs, 2) Teach true, 3) 5 S Activities, 4) Myself, 5) Home visit, 6) Goal for
Tag, and 7) Role playing
3. The research finding indicated that the mean score of drugs use behavior of the experimental
group after the model implementation towards drugs use behavior significantly improved more than before
the model implementation at the .05 level of statistical significance both Multivariate Test and Univariate Test

Article Details

บท
บทความวิจัย