สภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้ โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 Special Education Administration in the Pattern of Inclusive Education Using SEAT Structure among the Mainstay Schools in the Prima

Main Article Content

กฤติกา ยี่วาศรี1 Krittika Yeewasri1
จรรยา ชื่นเกษม2 Janya Chuankasem2
รุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล3 Rungnapa Tangchitcharoenkhul3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT
ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียน
ร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเด็กพิเศษ จากโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 รวมจำนวน 222 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยรายคู่
ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’) ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นต่อสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียน
ร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับความคิดเห็นจากมากไปหาน้อย คือ ด้านนักเรียน ด้านเครื่องมือด้าน
กิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสภาพแวดล้อมตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัดการ
เรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามสถานภาพ พบว่า โดยรวมและทุกรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01
3. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัด
การเรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การอบรม พบว่า โดยรวมและทุกรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการเปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาพิเศษรูปแบบการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้าง SEAT ของโรงเรียนแกนนำจัดการ
เรียนร่วม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า ทั้งโดยรวมและทุกรายด้านไม่แตกต่างกัน

The present study aims to investigate and compare the special education administrations in the pattern
of inclusive education using SEAT structure among the mainstay inclusive education schools in Prachuap
Khiri Khan Province. The sample groups consisted of school administrators and special education teachers,
total 222 participants from the mainstay schools that cooperated the inclusive education program in the
Primary Educational Service Area 1 of Prachuap Khiri Khan Province. The research tool was a questionnaire.
The data were analyzed by using instant calculating computer-programs. The statistics used in the analysis
were percentage, means, standard deviation, t-test, f-test, and Scheffe’. The results revealed as follows:
1.The attitudes toward the administration of special education using the pattern of SEAT among the
mainstay inclusive education schools were rated high. The following aspects were ordered from high to low:
student, tools, activities, and environment, respectively.
2.The comparison of the special education administration using the pattern of SEAT among the mainstay
inclusive education schools classifying the responds by the positions of the responders showed that their
attitudes toward the administration were significantly different at .01 level respectively.
3.The comparison of the special education administration using the pattern of SEAT among the mainstay
inclusive education schools classifying the responds by the responders’ training experiences revealed that
not significantly different at .01 level.
4.The comparison of the school size indicated that there was not significantly different at .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย