คุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียน โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม
ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะของครทู ีพึ่งประสงคต์ ามทัศนะของนักเรียน
โรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำแนกตาม เพศ และระดับชั้นเรียน และ
3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม ตำบลเวียง
สะอาด อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนเวียง
สะอาดพิทยาคม จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ มีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานหรืออ้างอิง
ได้แก่ ทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา
เป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความมีระเบียบวินัย ด้านความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ส่วนด้านที่มีค่า
เฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม
2. ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียนโรงเรียนเวียงสะอาดพิทยาคม พบว่า เพศ และ
ระดับชั้นเรียน ต่างกัน มีทัศนะต่อคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ของนักเรียน ไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ตามทัศนะของนักเรียน โดยเรียงลำดับจากความถี่มากไปหาน้อย
สามลำดับแรก คือ ครูควรมีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ครูควรมีความขยัน มีความตั้งใจ และ
พยายามช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย และครูควรรักษาชื่อเสียง มีความรัก และศรัทธาในอาชีพครูสานึกและตระหนักที่จะเป็นครูที่ดี
This research serves the purposes to: 1) study teachers’ desirable traits in students’ attitudes at Wiang
Sa-at Pithyakhom School in TambonWiang Sa-at of PhayakhkhaphumPhisai District in MahaSarakham Province,
2) to compare the former’s desirable traits in the latter’s attitudes to variables of the latter’s genders and the
class level, and study the latter’s suggestions for the former’s desirable traits. The sampling group for the
research counts in 230 students of grades 10-12. The data collection instrument is five rating scale
questionnaires with the reliability of the whole entry amounting to 0.85. The statistics for data analyses embrace
percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test.
Outcomes of Research findings:
1. Teachers’ desirable traits in students’ attitudes at WiangSa-at Pithyakhom School has rated ‘high’
in the overall aspect. Given a single aspect, the aspects with the highest means include those of: disciplines,
hard working including economy and attachment to right livelihood, while the aspect with the lowest mean is
honesty and justice.
2. The comparative results of their desirable traits in student attitudes at the above school has been
found that variables of students’ genders and levels show no significant differences in their attitudes.
3. Suggestions for teachers’ desirable traits in students’ attitudes at the aforesaid school in descending
orders of first three frequencies have been recommended. First, teachers should be self-disciplined, behaving
themselves as good role models. Second, they should be hard working, determined, trying their best to help
students achieve their goals. Last, they should retain their fames, cherishing their profession, have faith in
teacher profession and raise awareness of being decent teachers.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา