การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายแบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม;The Development of the Web-based Learning on Adaptive Presentation Entitled ‘Information Technology for Life’ for Bachelor Degree,

Main Article Content

ปริชณ์ สุริยะ1 Parich Suriya1
กนก สมะวรรธนะ2 Kanok Samavardhana2
ทรงศักดิ์ สองสนิท3 Songsak Songsanit3

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายแบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ
ชีวิต ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ประเมินคุณภาพบทเรียนบนเครือข่าย
แบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ 3)ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบนเครือข่ายแบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน ระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ กับกลุ่มผู้เรียนแบบปกติ และ 5) ศึกษาความ
พึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนบนเครือข่ายแบบปรับเปลี่ยนการนำเสนอ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์แปลผล สถิติพื้นฐานได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน t-test (Independent samples) กลุ่มตัวอย่างคือ
นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต ประจำปีการศึกษา
1/2558 จำนวน 2 หมู่เรียน จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยพบว่า
1) บทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (82.78/81.73) 2) บทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมาก
( = 4.49, S.D. = 025) 3) ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.6939 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
แตกต่างกันกับผู้เรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนที่พัฒนาขึ้น
อยู่ในระดับใจมาก ( = 4.31, S.D. = 0.44)

The aims of this research were to 1) develop the web-based learning on adaptive presentation entitled
‘Information Technology for Life’ for Bachelor Degree, Rajabhat Maha Sarakham University based on the
assigned criterion efficiency at 80/80, 2) evaluate the quality of the web-based learning on developed adaptive
presentation, 3) study the effective index of the web-based learning on adaptive presentation, 4) compare
the learning achievement of posttest scores of the experimental group who studied with web-based learning
on adaptive presentation with the control group who studied with the normal style, and 5) investigate the
satisfaction of experimental group towards the developed lessons. The statistics used for the quality of 

instruments were difficulty, discrimination and reliability by using Lovette’ s technique, index of item-objective
congruence: IOC and t-test for independent samples. The subjects were 2 groups of 60 undergraduate
students who were studying information technology for life on the first semester of 2015 academic year,
selected through purposive sampling.
The results of the research revealed that 1) the efficiency of web-based learning on adaptive presentation
was 82.78/81.73 higher than the assigned criterion of 80/80, 2) the quality of web-based learning on adaptive
presentation was at a high level ( = 4.49, S.D. 0.25), 3) the effective index of web-based learning on adaptive
presentation was 0.6939, 4) the achievement of the experimental group and control group was significant
difference at the .05 level, and 5) the satisfaction of the experimental group was at a high level ( = 4.31,
S.D. 0.44).

Article Details

บท
บทความวิจัย