ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ศรีสมพร จันทะเลิศ1
สนิท ตีเมืองซ้าย2
ประวิทย์ สิมมาทัน3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อยืนยันตัวชี้วัดสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศวิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น
2ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบตัวชี้วัดสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค Focus group จากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวชี้วัดสมรรถนะ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 525 คน กลุ่มผู้ประเมินแบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด
สมรรถนะ จำนวน 175 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ใช้สำหรับการระดมความคิดเห็นในการสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะ จำนวน17 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มใช้ประกอบการสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะ และแบบประเมินความเหมาะ
สมของตัวชี้วัดสมรรถนะสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และยืนยันด้วยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการวิจัย พบว่า
ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 5 องค์
ประกอบได้แก่ ด้านเข้าใจหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้น (6 ตัวชี้วัด) ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล(9 ตัวชี้วัด) ด้านการ
เก็บรักษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ (9 ตัวชี้วัด) ด้านการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมโดยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(15 ตัวชี้วัด) ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการ ในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ (12 ตัวชี้
วัด)และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบ ทั้ง 5องค์ประกอบมีค่าเป็นบวก มีค่าตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.98มี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกค่า โดยนํ้าหนักองค์ประกอบเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ องค์ประกอบที่ 4 ด้านการนำ
เสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมโดยเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์มีค่าเท่ากับ 0.86 องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ใน
การค้นหาข้อมูลมีค่าเท่ากับ 0.85 องค์ประกอบที่ 5 ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำ
วันอย่างมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบมีค่าเท่ากับ 0.80 องค์ประกอบที่ 3 ด้านการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆมี
ค่าเท่ากับ 0.73 และองค์ประกอบที่ 1 ด้านเข้าใจหลักการแก้ปัญหาเบื้องต้นมีค่าเท่ากับ 0.72ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Office of the Education Council. (2010).
Educational Reform Suggestions in the Second
Decade. (2009- 2561). 4th ed. Bangkok : Prikwan
Graphic Co. Ltd.
[2] Office of Educational Reform. (1999). National
Education Act1999. Bangkok : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
[3] National Economic and Social Development Board.
(2006). National Economic and Social Development
Plan, 10th (2006 - 2011). Bangkok : Office of the
National Economic and Social Development Board.
[4] Ministry of Education. (2008). Basic Education
Curriculum 2008. Bangkok : Publishing House of
Agriculture Cooperative Federation of Thailand
Co. Ltd.
[5] Linchareon, Auemporn. (2004). Development of
Successful Indicators of Basic Education Reform.
Doctor of Education Thesis. Phisanulok :
Naresuan University.
[6] Teemueangsai, Sanit. (2010). “Collaborative Problem-
Based Learning Development with Scaffolding via
Computer Network, ” Journal of Rajabhat
Mahasarakham University (Humanities and Social
Sciences). 4(3) : (September-December).