ผลการวิจัยและพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อารีรัตน์ ศรีระดา1
เสนอ ภิรมจิตรผ่อง2
ชมพูนุท โมราชาติ3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ
เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับ
ชัน้ ประถมศึกษาปที ี่ 5 โรงเรยี นในสังกัดสาํ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศกึ ษา จังหวดั ในภาคตะวันออกเฉียงเหนอื ตอนลา่ ง จำนวน
370 คน และนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 390 คน
2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ
ความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และ 3) ประเมินการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบอิง
ประสบการณ์ทางภาษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่าง
คือนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานีเขต 5 จำนวน 60 คน แยกเป็นกลุ่ม
ทดลอง 30คนและกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบทดสอบความสามารถในการ
อ่านเพื่อความเข้าใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ ครูผู้สอนใช้วิธีการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากที่สุด สื่อที่ครูใช้ คือ บัตรลำดับ
ภาพกิจกรรมที่ครูใช้สอนมากที่สุด คือ กิจกรรมการจัดเรียงบัตรลำดับภาพและการวัดและประเมินผลที่ครูใช้มากที่สุด คือ แบบข้อสอบ
จับคู่ ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาเขต 5 มีระดับคะแนนที่ตํ่าที่สุด 2) รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอิงประสบการณ์ทางภาษา
เป็นรูปแบบที่เน้นการใช้ความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการ
เรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน โดยกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 7
ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างความสนใจ ขั้นบันทึกคำศัพท์ ขั้นสำรวจความรู้เดิม ขั้นเพิ่มความรู้ใหม่ขั้นใส่ใจฝึกอ่าน ขั้นสร้างและประยุกต์และ
ขั้นสรุปร่วมกัน 3) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่านักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลอง
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Ministry of Education.(2008). Core Curriculum Basic
Education 2008. Bangkok.
[2] Finocchiaro, M., and Brumfit, C. (1983). “Not al
reading disabilities are alike”, Journal of Learning
Disabilities. 32 - 143.
[3] Stauffer, R.G.(1980). The language Experience
Approach to the Teaching Reading. New York :
Harper and Row Publishing.
[4] Raines, S.C., and Canady, R.J.(1990). The Whole
language kindergarten. New York : Teachers
college Press.
[5] Wurr, A. J. (2002). Language experience approach
revisited : The use of personal narratives in adult
L2 literacy instruction. The Reading Matrix. 2(1)
: 1-8
[6] Thubthep, Ratchada. (2011). Research and Development
of an English Reading Teaching Model Based on
Language Experience Approach to Develop third
grade Students’ Reading Comprehension Ability.
Doctor of Education Management Thesis, Bangkok :
Chulalongkorn University.
[7] Karen, R. The Effect of Instruction and Discourse
Combining Shared book and Language Experience
Approach with at Risk First Grade. (2008) [online]
Available from : http : gradworks.umi.
com/33/33/3333073.html[2012,Mat 1].