ความคิดสร้างสรรค์ในการค้นหาพัฒนารูปแบบการแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน

Main Article Content

พิษณุ เข็มพิลา1
ชาตรี ศิริสวัสดิ์2
ณรงค์ฤทธิ์ โสภา3

บทคัดย่อ

บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อค้นหาการพัฒนารูปแบบการแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน 2)
เพื่อประเมินผลรูปแบบการแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน 3) เพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงพื้นบ้านอีสานใน
รูปแบบของสื่อสู่ชุมชน ประชากรและกลุ่มเป้าหมายได้แก่นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์และการละครชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน คัดเลือกโดยวิธีการเฉพาะเจาะจง
(Purposive Sampling) ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ทำการทดลองโดยทำความเข้าใจและข้อตกลงในการ
เรียนการสอน แล้วแบ่งกลุ่มจัดการแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ผลการวิจัยพบว่า
ได้รูปแบบการสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้านอีสาน 14 ขั้นตอน ได้ชุดการแสดงทั้งหมด 15 ชุด โดยสร้างสรรค์ใหม่ 12 ชุด และ
พัฒนาการแสดงจากรูปแบบเดิม 3 ชุด ได้แก่ 1) ฟ้อนเกี้ยวสาวญ้อ 2) ฟ้อนหมี่ไหมสาเกตุ 3) ฟ้อนออนซอนผ้าแพรมน 4) ฟ้อนวงศา
นาคานาคี 5) ฟ้อนไต้ประทีป 6) ฟ้อนโยคามหาโยคี 7) ฟ้อนศรีนครลำดวน 8) ฟ้อนนาฏนารีผล 9) ฟ้อนเอ้ขิดวงเดือน 10) เซิ้งผ้าหมี่
11) ฟ้อนอุรคะบูชาพระธาตุนาดูน 12) ฟ้อนนาฏลีลามาลัยรังไหม 13) ฟ้อนสาเกตุนครออนซอนผ้าบุญ 14) ฟ้อนเอ้มาลัยเกี้ย 15) รำวง
บ้านหนองเรือ
การประเมินผลรูปแบบการแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน เป็นการวัดความคิดสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้าน ด้านแนวคิด
และเนื้อหา ผู้แสดง ท่าทางที่สื่อความหมาย เครื่องแต่งกายและการแต่งกายประกอบการแสดง ดนตรีประกอบการแสดง จากผลงาน
ของนักศึกษา 15 ชุดการแสดง ประเมินผลงานโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลการประเมินพบว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด 5 ชุดการแสดง
มีความเหมาะสมมาก 10 ชุดการแสดงการประเมินผลค่าเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.90 ความเหมาะสมระดับมาก
การนำเสนอผลงานความคิดสร้างสรรค์การแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ณ เวทีกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม วันที่ 22 เมษายน 2559 พบว่ามีผู้ชมการแสดงที่ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจในระดับมาก นอกจากนี้จากแบบบันทึก
การเข้าชมทาง YouTube ระหว่างเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2559 พบว่ามียอดผู้เข้าชมรวม 35,328 คน
สรุป การแสดงพื้นบ้านจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสานที่นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์และการละครได้สร้างสรรค์ขึ้นมีความ
เหมาะสมสวยงาม สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและเผยแพร่สู่ชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Wongkul, Phittaya. (2001). Tai Way : Wisdom to
Integrated Community. Bangkok : Srimueanf
Printing.
[2] Nikkamanan, Pathom. (1992). Finding Knowledge
and Knowledge Transfer Systems in Thai Rural
Communities. Adult Education Program,
Faculty of Education, Srinakharinwirot University.
[3] Wasee, Prawet. (1991). “National Education with
Local Wisdom”Academic Seminar Paper ; Folk
wisdom and Cultural and Rural Development
Operations. Bangkok : Amarin Printing Group.
[4] Na Thalang Ekkawit. (2011). Local Wisdom and
Knowledge Management. Bangkok : Amarin
Printing Group.
[5] Meekiet, Kluewan. (2004). Local Wisdom. Bangkok
: Vocational Training Center Printing.
[6] Government Gazette. (2007). Constitution of the
Kingdom of Thailand 2007. Government Gazette.
[7] Office of the National Economic and Social Devel
opment Board, Prime Minister’s Office. (2011).
National Economic and Social Development Plan,
11th 2012 - 2016. Bangkok : Prime Minister’s Office.
[8] Rajabhat Mahasarakham University. (2013). Student
Guides for Academic Year 2013. Mahasarakham
: Apichart Printing Co., Ltd..
[9] Chayathawat, Chokchai. (2004). New Breed
Teacher, Youth Builder, Creator of Future of the
Nation. Bangkok : Wanasat Publishing House.
[10] Pornrungrot, Channarong. (2003). Creativity Thinking.
Bangkok : Chulalongkorn University.
[11] Malakul Na Ayuthaya, Prasarn and Others. (1989).
Model Development and Research of Developing
the Desirable Competencies Teachers according
to Primary and Secondary Education. Bangkok :
Office of National Education Commission.