การพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน 2)
เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน 3) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ
หลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมือง
อาเซียน การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน กลุ่ม
ตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ทั้ง 7 คณะ 4 ชั้นปี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 385 คน เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ
0.963 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .257 - .838 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
EFA : (Exploratory Factor Analysis) ระยะที่ 2 เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ทั้ง 7 คณะ 4 ชั้นปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 385 คน ที่
ไมใ่ ชก่ ลมุ่ ตัวอยา่ งเดิม เครื่องมือทีใ่ ชใ้ นการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ไดแ้ ก ่ แบบสอบถามสภาพปจั จุบันสมรรถนะหลักของนักศึกษาสคู่ วามเปน็
พลเมืองอาเซียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.930 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .257 - .704 ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบโดย
การให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินและทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 28 คน ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนา
สมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียนโดยการทดลองกับนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
จำนวน 30 คน เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย
1. สมรรถนะหลักความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 21 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ องค์
ประกอบที่ 1.สมรรถนะหลักด้านทักษะพลเมืองอาเซียน มี 4 องค์ประกอบย่อย 2.สมรรถนะหลักด้านจิตสำนึกอาเซียน มี 4 องค์ประกอบ
ย่อย 3.สมรรถนะหลักด้านความรู้อาเซียน มี 5 องค์ประกอบย่อย 4.สมรรถนะหลักด้านการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น 3 องค์ประกอบย่อย
5.สมรรถนะหลักด้านความรับผิดชอบร่วมกัน มี 3 องค์ประกอบย่อย
2. ศึกษาสภาพปัจจุบันสมรรถนะหลักความเป็นพลเมืองอาเซียนของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นราย
ด้านโดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปตํ่าสุด คือ ด้านความรับผิดชอบร่วมกัน รองลงมาตามลำดับคือด้านการอยู่ร่วมกันกับ
ผู้อื่น ด้านทักษะความเป็นพลเมืองอาเซียน ด้านจิตสำนึกอาเซียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยในลำดับสุดท้ายคือ ด้านความรู้อาเซียน
3. ผลสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน 16
หน่วยการเรียน คือ การปฐมนิเทศ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ มี 5 หน่วยการเรียน ขั้นที่ 2 การสร้างความตระหนัก มี 5 หน่วยการเรียน
ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติจริง 4 หน่วยการเรียน ขั้นที่ 4 ประเมินและสรุปผลการพัฒนา มี 1 หน่วยการเรียน
4. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของนักศึกษาสู่ความเป็นพลเมืองอาเซียน พบว่า ค่าเฉลี่ยก่อนพัฒนาอยู่ในระดับปาน
กลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาหลังการพัฒนา ค่าเฉลี่ยรายด้านจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ พบว่า 1) สมรรถนะหลัก
ด้านความรับผิดชอบร่วมกัน 2) สมรรถนะหลักด้านทักษะพลเมืองอาเซียน 3) สมรรถนะหลักด้านการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น 4) สมรรถนะ
หลักด้านจิตสำนึกอาเซียน 5) สมรรถนะหลักด้านความรู้อาเซียน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Citizens. Teaching Document ; Subject Code
2000111 ASEAN Studies). Faculty of Humanities
and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat
University.
[2] Sriphutthangkoon, Bundit. (2013). Ministry of
Education and the Entering into Asean
Community 2013. [Online] 23 September 2013 from;
https://goo.gl/6Hg2DT
[3] Institute of Educational Policy. (2014). Know
Thai - Know ASEAN. [Online] 23 September 2013
from; http://www.fpps.or.th/news.php?detail
=n1367176740.news
[4] Phitsuwan, Surin. (2015). View of Dr.Surin towards
Entering into Asean Community. [Online] 12
November 2015 From; http://www.mfa.go.th/asean/
th/news/5702/62753.
[5] Office of the Higher Education Commission. (2010).
Thailand’s Higher Education Strategy to Prepare
for ASEAN Community Year 2015. Bangkok :
Bangkok limited partnership.
[6 ] Thongbu, Suraward. (2012). Educational Research.
Mahasarakham : Rajabhat Mahasarakham
University.
[7] Weerasombut, Thunyaluk. (2012). Preparation of
graduate students for Supporting ASEAN
Community. Pathumthani : Thammasat
University.
[8] Rajabhat Mahasarakham University. (2015). Manual
Participation Integrated Learning Activities and
Issuing Activity Record. Mahasarakham Rajabhat
Mahasarakham University.
[9] Jitwattanakarn, Trakoon and Muenthep, Wiroj. (2015).
The Preparation of Students in Pathum Thani
Province to Association of South East Asian
Nations (ASEAN). Pathumthani.
[10] Koncluer, Mongkhonrat ; Chaivibulphol, Manasikarn
and Julapan, Sunaree. (2014). The Readiness of
Student of Rajamangala University of Technology
Phra Nakhon for Labor Market to ASEAN. Bangkok
: Rajamangala University of Technology Phra
Nakhon
[11] Kongterm, Somjai. (2012). The Study of Readiness
to ASEAN Community of Students in Phetchabun
Rajabhat University. Phetchabun : Phetchabun
Rajabhat University.
[12] Wiriyakul-opas, Khuanchanok. (2013). “Preparingto
ASEAN : Case of Thaksin University Library”.
Thaksin University Library Journal, 1-14.
13] Bumrungjit, Ketsunee; Panompornsuwan, Woraphon
and Others. (2012). “Factor of success preparation
dee of Rajamangala Phra Nakhon University to
ASEAN economic community in 2015”.Research
Institution of Yanasungwon Journal, Mahamakut
Buddhist University, 2(1) : 71-77.
[14] Lortrakool, Adchara. (2014). “The preparation
to enter an ASEAN Community of Students of
Faculty of Management Science of Ayutthaya
Rajabhat University”. ARU Research Journal, 1 (1)
: October 2014 : 14-21.