รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชน
ตำบล จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัด
หนองคายและ3) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล
จังหวัดหนองคาย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายพื้นที่การวิจัย คือ จังหวัดหนองคายประชากร คือ กรรมการสภาองค์กร
ชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายจำนวน 930 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane จำนวน 280
คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตามระดับชั้น อย่างเป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์
การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple Linear Regression) และใช้รูปแบบการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural
Equation Model : SEM) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) ตัวแปรสาเหตุ ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับกรรมการสภาองค์กร
ชุมชนตำบล2)ความฉลาดทางอารมณ์ 3) สมาชิกที่ดีขององค์กร4)การรับรู้บทบาท 5)บรรยากาศของหน่วยงาน และ6) การทำงานเป็น
ทีม ตัวแปรตาม คือประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคาย ระยะที่ 2 เป็นการสร้างรูปแบบ
การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายประชากร กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่สมาชิก
สภาองค์ชุมชนตำบล กรรมการสภาตำบล ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลในระดับตำบล ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับอำเภอ
และประธานสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัดและนักวิชาการ จำนวน 5 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง รวม 25 คนโดยใช้
ตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยในระยะที่ 1 มาเป็นประเด็นในการพิจารณาสร้างรูปแบบการพัฒนาใช้วิธีการประชุม
กลุ่มย่อย (Focus Groups) และ การระดมความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่ (Brian Storming) นำรูปแบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ให้ผู้
เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประเมินความเหมาะสม และ ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายกลุ่มทดลอง คือ ประชาชน สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบล กรรมการ
สภาองค์กรชุมชนตำบล ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบล ในอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นกลุ่มทดลองที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างในระยะ
ที่ 1 และกลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 2 รวมทั้งสิ้น 30 คน ระยะเวลาในการทดลอง จำนวน 4 เดือน ประเมินผลการทดลอง โดยการเปรียบ
เทียบผลการทดลองก่อนและหลังการทดลอง ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบวัดซํ้า MANOVA (Repeated Measure)โดย
กำหนดค่าระดับนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายประกอบด้วย 4 ตัวแปร
เรียงตามลำดับอิทธิพลได้ดังนี้1) สมาชิกที่ดีขององค์กร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.42 2)การทำงานเป็นทีม มีค่า
สัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.193) บรรยากาศองค์กร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.11 และ 4) ความรู้เกี่ยวกับ
สภาองค์กรชุมชนตำบลมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลโดยรวม เท่ากับ 0.09
2. ได้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดหนองคายจำนวน 11กิจกรรม
ได้แก่ 1) การพัฒนาจิตใจ 2) ระดมสมอง ต้นไม้แห่งความคิด 3) การทำงานร่วมกันเป็นทีม 4) เรียนรู้การพัฒนาบุคคล และทีมงาน 5)
กระดาษของฉัน 1 6) ถอดรหัส 7) รู้เกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล 8) การวิเคราะห์ตนเอง 9) ทีม 10) รูปปริศนา และ11) กิจกรรม
ช่วยฟังหน่อย
3. ผลการทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของกรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล ใน
จังหวัดหนองคาย พบว่า กรรมการสภาองค์กรชุมชนตำบล ในกลุ่มทดลอง หลังการทดลอง มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
เพิ่มขึ้น มีการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรมีการทำงานเป็นทีม มีการสร้างบรรยากาศองค์กรและ มีความรู้เกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชนตำบล
ได้ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Development : Strategies to Overcome Business
Competitors. There was no Printed Source.
[2] Dechkong, Therdsak. (2000). From Emotional
Intelligence to Consciousness and Intelligence.
Bangkok : Matichon.
[3] Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory
Analysis. New York : Harper and Row.
[4] Singhalert, Rungsan. (2008). Social Science Research.
Mahasarakham :Rajabhat Mahasarakham
University,
[5]Cook, T.D. and Campbell, D.T. (1979). Quasi-
Experimentation : Design and Analysis for Fleld
Setting. Rand McNally, Chicago. Lllinois.
[6]Organ, Dennis W. (1997). Organizational Citizenship
Behavior : It’s Construct Clean-Up Time. Human
Performance. 10 (2) : 85-97.
[7] Thosuwanjinda, Wicahi. (1992). Team Development
: The Secret of Organization. Bangkok :
Dharmniti Publishing House.
[8] Klinfaung, Chutawadee. (2000). Relationships
between personal factors, job characteristics,
organizattional climate, and quality of working
life of staff nurses, hospitals under the
jurisdiction of the ministry of defense. Master of
Science Thesis (Nursing Administration),
Chulalongkorn University,
[9] Naweekarn, Somyod.(1993). Administration.
Bangkok : Thammasarn.
[10] Parker, C.L. (1990). “Personal teaching efficacy :
Developmental relationships in education,” Journal
of Educational Research. 85 (5) : 274-286.
[11]Wasee, Prawed. (2006). Educational Reforms for
the Overcoming of Disaster. Bangkok : Sdosri-
Chakritwed Foundation. Lighthouse Printing
Project.