การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การ
บริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผน
พัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ
และหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การ
บริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่
มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 316
คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ .917 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลตัวแปร เพศ โดยใช้สถิติ t-test และการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลตัวแปรอายุ
ระดับการศึกษา อาชีพ และหมู่บ้านที่อาศัยอยู่ โดยใช้สถิติ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง คือ 1.1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 1.2) ด้านการ
มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม 1.3) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 1.4) ด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล
2. ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และหมู่บ้านแตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยรวม แตกต่างกัน
(P-value < .05) ส่วนระดับการศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นโดยรวม ไม่แตกต่างกัน
3. ข้อเสนอแนะ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจควรมีการประชุมประชาคมเพื่อเสนอปัญหา และความต้องการเพื่อจัดทำ
แผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ/ดำเนินงานด้านการ
ก่อสร้าง 3) ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ในการจัดโครงการต่าง ๆ ควรจัดให้ผลประโยชน์ตกกับประชาชน 4) ด้านการมีส่วนร่วม
ในการติดตามและประเมินผลควรมีการติดตามประเมินผลตามแผนพัฒนาทุก 3 เดือน
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
to Local Development Plan. Bangkok : Department
of Local Administration.
[2] Chareonsiri, Wittaya; Kenaphoom, Sanya and
Phosing, Pakdee. (2014). “The Administrative and
Organizational Culture Factors Affecting the
Effectiveness of Local Government in Maha
Sarakham Province” Rajabhat Mahasarakham
University Journal. 8(3) ; 151-159 : September -
December.
[3] Determine the Decentralization Plan for the Local
Administrative Organization Act (1999).
Government Gazette.Volume 116, Part 114 A. Page
5-8. 17 November.
[4] Department of Local Administration.(2012).
The Development Plan of the Local Government
Organization. Bangkok : Department of Local
Administration
[5] Sub-district Government Division, Department of
the Interior, Ministry of the Interior. (1997).
Preparation of the Tambon Administrative
Organization Development Plan. Bangkok :
Territory Preserve Volunteer
[6] Kenaphoom, Sanya. (2014A). “The creating of
Quantitative Research Conceptual Framework of
Public Administration by Literature Review”.
Udonthani Rajabhat University Journal of
Humanities and Social Science, 3 (1) : January-
June 2014.
[7] Cohen & Uphoff. (1980). Effective Behavior in
Organizations. New York : Richard D. Irwin Inc
[8] Kenaphoom, Sanya. (2015). “The research
Conceptual Framework Establishment by the
Grounded Theory” VRU Research and Development
Journal. 10 : (3) (September-December).
[9] Kenaphoom, Sanya. (2014B). “A Creation of a
Research Conceptual Framework for Public
Administration by Knowledge Management
Methodology” Journal of Humanities and Social
Sciences, Ubon Ratchathani University, 5 (2),13-32.
[10] Kenaphoom, Sanya. (2014C).“The Writing Format
of Research Conceptual Frameworks on
Management”. Rajabhat Mahasarakham
University Journal(Humanities and Social
Sciences). 8 (3) : September-December ; 33-42.
[11] Kosumphisai District Registration Office. (2015).
Sub-district Population and Housing Statistics,
Donklang Sub-district. Kosumphisai District
Registration Office.
[12] Promdue, Somsak. (2008). The people participation
on Development Plan of Sub-district Administrative
Organization in Nadoon District Area, Mahasarakham
Province. Master of Public Administration Thesis
: Rajabhat Mahasarakham University.
[12] Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory
Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row
[13] Punchai, Surayun. (2009). The people participation
on Development Plan of Maekhaning Sub-district
Administrative Organization in Wiengsa District
Area, Nan Province. Master of Public Administration
Independent Study(Urban and Rural Development
and Management) : Uttaradit Rajabhat University.
[14] Ard-Aiem, Warawud.(2013). The people participation
on Development Plan of Yang Au Sub-district
Administrative Organization in Thakunthoo,
Kalasin Province. Master of Public Administration
Thesis : Rajabhat Mahasarakham University.
[15] Wit, Daniel. (1967). A Comparative Survey of Local
Government and Administration. Bangkok :
Kurusapha Press
[16] Phuang-ngarm Kovit. (2009). Thai Local Governance
: Principles and Dimensions in the Future.
Bangkok : Winyoochon.
[17] Srisawangwong, Watchaphong. (2008). The people
participation on Administration of Sub-district
Administrative Organization : Case Study of
DonklangSub-district Administrative Organization,
Donjan District, Kalasin Province. Master of
Political Science Independent Study : Mahamakut
Buddhist University.
[18] Phuang-ngarm Kovit. (2010). Local Governance
Principles on Participation and Transparency.
Bangkok : Department of Local Administration.
[18] Changpach, Chairatti. (2014). The people participation
on Development Plan of Nonnajan Sub-district
Administrative Organization in Nakoo District,
Kalasin Province. Master of Public Administration
Thesis : Rajabhat Mahasarakham University.
[19] Phodaeng, Kitja. (2014). The people participation
on Development Plan of Ladyaw Sub-district
Municipality in Ladyaw District, Nakornsawan
Province. Chulalongkornrajavittayalaya University.