การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิดที่มีต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา:พืชหรือสัตว์การจำแนกพืชและการจำแนกสัตว์ และการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที5ต่อผลการเรียนวิทยาศาสตร์ต่างกัน

Main Article Content

สุภาพร รัตนรังสิกุล
จีระพรรณ สุขศรีงาม
มยุรี ภารการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการ รู้คิด ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติชีววิทยา : พืชหรือสัตว์ การจำแนกพืช และการจำแนกสัตว์ และการ คิดวิพากษ์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลการเรียนต่างกัน จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาจากเทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วย เทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดี โดยใช้เทคนิคการรู้คิด 3 ประเภท ได้แก่ ความสามารถเข้าใจได้ (Intelligibility) ความสามารถเชื่อ ถือได้ (Plausibility) และความสามารถนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง (Wideapplicability) เรื่อง พืชหรือสัตว์ การจำแนกพืช และการ จำแนกสัตว์ จำนวน 3 แผน ใช้เวลาเรียน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และแบบทดสอบ 2 ชุด คือ แบบทดสอบวัดแนวความคิด เลือกเกี่ยวกับมโนมติพืชหรือสัตว์ จำนวน 4 ข้อ มโนมติการจำแนกพืช จำนวน 6 ข้อ และมโนมติการจำแนกสัตว์ จำนวน 6 ข้อ และ แบบทดสอบวัดการคิดวิพากษ์วิจารณ์ จำนวน 40 ข้อ จำนวน 5 ด้าน คือ การอนุมาน การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น การตีความ การ นิรนัย และการประเมินข้อโต้แย้ง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test, F-test (One-way ANCOVA) และ Chi-square test ผลการวิจัย พบว่า

1. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและนักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตํ่า ผู้ที่เรียนด้วย เทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ และมีความเข้าใจเพียงบางส่วนเพิ่มขึ้นจากก่อน เรียน แต่มีแนวความคิดที่ผิดพลาดในมโนมติพืชหรือสัตว์ การจำแนกพืช และการจำแนกสัตว์ลดลงจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05

2. นักเรียนโดยส่วนรวม นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงและนักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตํ่าที่เรียนด้วยเทคนิค การคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิด มีการคิดวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งโดยรวมและเป็นรายด้าน ทุกด้าน เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์สูงที่เรียนด้วยเทคนิคการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิดมีการคิดวิพากษ์ วิจารณ์ หลังเรียนโดยรวมและเป็นรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านการยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ด้านการตีความ และด้านการประเมินข้อโต้ แย้ง มากกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตํ่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : การคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ดีโดยใช้เทคนิคการรู้คิด, การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเลือก, การคิดวิพากษ์วิจารณ์

 

ABSTRACT

This research aimed to investigate and compare the effects of learning using good science thinking moves with metacognitive moves on changing alternative conceptions of some biology concepts : Plants or Animals, Plant Classification and Animals Classification, and critical thinking ability of 39 5th grade students with different science learning achievements. These students were obtained through use of the cluster random sampling technique. Instruments for the study included 1) 3 two-hour instructional plans for 3 weeks’ learning using good science thinking moves with 3 metacognitive moves: intelligibility, plausibility, and wide applicability on these three mentioned biology concepts, 2) a test on alternative conceptions of plants or animals ( 4 items), plant classification (6 items), and animals classification ( 6 items); and 3) a 40-item test on critical thinking ability in the following specific aspects: inference, recognition of assumptions, interpretation, deduction, and evaluation of arguments. The collected data were analyzed using t-test, F-test (One-way ANOVA) and Chi-square test.

The study revealed the following major findings :

1. The students, both high and low achievers, generally showed post-learning gains in more instances of sound understanding and fewer instances of specific misconception of the mentioned biology concepts at the .05 level of significance.

2. The students, both high and low achievers, generally showed significant post-learning gains in overall critical thinking ability and its specific aspects at the .05 level.

3. The high achievers indicated more posttest critical thinking abilities, both overall and in specific aspects (except for inference and deduction) than did the low achievers at the .05 level of significance.

Keywords : Good Science Thinking, Matacognitive Techniques, Alternative Conceptions Change, Critical Thinking, Science Learning Achievements

Article Details

บท
บทความวิจัย