Reducing Thai High School Students’ Writing Apprehension by Exploiting An Instructional Model Based on Vygotsky’s Scaffolding Techniques

Main Article Content

Sutthiwan Manphonsri
Philanut Phusawisot
Kantaphon Samdaengdej

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนเพื่อลดความวิตกกังวลในการเขียนและพัฒนาความสามารถในการเขียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนเมื่อได้เรียนด้วยกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้และเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเขียนของนักเรียนก่อนและ หลังเรียนด้วยกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนธาตุนารายณ์ วิทยา อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน ที่กำลังเรียนวิชาภาษาอังกฤษอ่านเขียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 เครื่อง มือที่ใช้ ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การสอนเขียนเน้นกระบวนการตามกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน แผน ละ 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ แบบประเมินความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ แบบวัดความวิตกกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษและแบบวัดความพึงพอใจของ นักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเพื่อลดความวิตกกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยการใช้ กลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ของไวกอต์สกี วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า

1. ความวิตกกังวลในการเขียนของนักเรียนลดลงหลังเรียนด้วยกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้

2. ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนระหว่างและหลังเรียนโดยกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนเพื่อลดความวิตกกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอน ปลายโดยการใช้กลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้ของไวกอต์สกี

คำสำคัญ : ความวิตกกังวลในการเขียน, การสอนเขียนเน้นกระบวนการกลวิธีเสริมต่อการเรียนรู้, การประเมินความสามารถ ทางการเขียน, ความพึงพอใจ

 

ABSTRACT

The purposes of this study were to investigate whether the instructional model designed is effective in reducing the students’ writing apprehension before and after via scaffolding techniques. The target group consisted of 30 Matthayom Suksa five students enrolling reading and writing English course, in the second form of writing ability and a questionnaire for assessing the student’ satisfaction towards the use of writing process by using Vygotsky’ s scaffolding techniques. The statistics used for analyzing data were mean, semester of the academic year 2011 at Thatnaraiwittaya School, Sakon Nakhon Province. The instruments employed in this study were: 4 lesson plans; each lesson spent 6 hours (24 sixty-minute periods). The instruments of the study consisted of: an ability in English writing evaluation form, an apprehension evaluation standard deviation, and t-test.

The results of the study were as follows:

1. The overall of the students’ writing apprehension decreased after having been taught by writing processes through scaffolding techniques.

2. The students’ writing apprehension before and after implementing scaffolding techniques was higher continually.

3. The students’ satisfaction towards the instructional model designed through Vygotsky’s scaffolding techniques was at a high level.

Keywords : Writing Apprehension, Writing Skill through Scaffolding Techniques, English Writing Ability Assessment, Satisfaction

Article Details

บท
บทความวิจัย