ความเชื่อเหนือธรรมชาติและการสร้างภาวะเหนือธรรมชาติในนวนิยายของกิ่งฉัตร

Main Article Content

ขวัญจิตร นุชชำนาญ
จารุวรรณ ธรรมวัตร
ชูศักดิ์ ศุกรนันทน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาวะเหนือธรรมชาติและความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ปรากฏในนวนิยายของกิ่งฉัตร จำนวน 9 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อเหนือธรรมชาติที่ปรากฏในนวนิยายของกิ่งฉัตรนั้น แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ความเชื่อเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับ ชีวิตหลังความตาย ได้นำเสนอเกี่ยวกับวิญญาณ ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและมนุษย์กับวิญญาณสามารถติดต่อกันได้ โดยการปรากฏ ร่างของวิญญาณ ซึ่งผู้ที่มีสัมผัสที่หกสามารถติดต่อกับวิญญาณได้ และการติดต่อโดยวิญญาณเข้าสิงร่างมนุษย์ 2) ความเชื่อเหนือ ธรรมชาติที่เกี่ยวกับลางสังหรณ์และความฝัน ได้นำเสนอความเชื่อเกี่ยวกับลางบอกเหตุหรือการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ไม่สามารถระบุเหตุการณ์นั้นๆ ได้ว่าเป็นเช่นไรและเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นนั้นมักจะเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ดี ส่วนความเชื่อเรื่องความ ฝันมักจะเป็นความฝันเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และความฝันนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติสร้างขึ้น 3) ความเชื่อเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับอำนาจจิต เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับพลังที่ซ่อนเร้นอยู่ในจิตของบุคคล เช่น การใช้พลังจิตในการ เคลื่อนย้ายสิ่งของ การใช้พลังจิตในการหยั่งรู้เหตุการณ์หรือการทำนาย

การสร้างภาวะเหนือธรรมชาติในนวนิยายของกิ่งฉัตร พบว่า ด้านโครงเรื่อง ใช้การเปิดเรื่อง 4 แบบ คือ เปิดเรื่องโดยการ พรรณนาฉาก เปิดเรื่องโดยการพรรณนาเหตุการณ์ เปิดเรื่องโดยการบรรยายพฤติกรรมของตัวละคร เปิดเรื่องโดยการพรรณนา ลักษณะของตัวละคร การบรรยายพฤติกรรมของตัวละครซึ่งเป็นประเด็นที่พบมากที่สุด รวมถึงการสร้างปมความขัดแย้งระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ ในด้านความรักและความอิจฉาริษยา การปิดเรื่องเป็นการปิดเรื่องแบบสุขนาฏกรรม โดยเน้นที่ความสำเร็จในหน้าที่ การงานและด้านความรักของตัวละครเอก ด้านแก่นเรื่องพบว่า ใช้แก่นเรื่องด้านความรัก ด้านครอบครัว และด้านสังคมเป็นแก่น เรื่องหลักในการนำเสนอ ด้านตัวละคร ใช้ตัวละครทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์แสดงพฤติกรรมที่ต่างจากมนุษย์ทั่วไป ด้านฉากและ บรรยากาศมี 3 ประเภท คือ ฉากและบรรยากาศที่เน้นภาวะความแปรปรวนวิปริตของสภาพอากาศ เน้นการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ฉากและบรรยากาศที่เกิดจากความเชื่อและจินตนาการของผู้แต่ง ด้านบทสนทนา ใช้บทสนทนาในการดำเนินเรื่องที่ทำให้ผู้อ่านทราบ พฤติกรรม และลักษณะของตัวละครหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกสนานเหมือนมีส่วน ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น ด้วย

คำสำคัญ : การสร้างภาวะเหนือธรรมชาติ, ความเชื่อเหนือธรรมชาติ, ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย

 

ABSTRACT

This research aims to study the beliefs in superstition and the creation of superstitious conditioning from nine of Kingchat’s novels. The findings were found in three aspects: 1) the belief in superstition regarding to life after death which presents in relation to spirit as the existence. Human beings and spirit can communicate with each other through physically appearing of spirit itself. Those with the sixth sense are able to communicate with spirit and this is done by haunting in human body, 2) the belief in superstition regarding to premonition and dreaming leads to presentation of the belief about bad omen or prediction of what will happen. The belief of dreaming is the telling of what used to happen in the past and the dream occurred due to the person who had power of supernatural creation, and 3) the belief in superstition regarding mental power which presents about hidden power in human mind such as applying mental power to move things and using mental power to enlighten the occurrence or prediction.

The creation of superstitious conditioning in Kingchat’s novels has been found in four styles of opening technique: opening story by setting description, incident description, character’s behavior description and character’s personality description. The character’s behavior description has been found the most including the creation of conflict between humans and humans in the aspects of affection and jealousy. The stories are closed by happy-ending emphasizing on main character’s occupation and love success. In the aspect of theme, it has been comprised of love, family and society as the main theme presented. In the aspect of characters, it is presented by both human and inhuman which is different from normal human behavior. In the aspect of setting and atmosphere consisted of three categories: the setting and atmosphere emphasizing on the unusual climate condition, emphasizing on sense perception, the setting and atmosphere occur from the author’s beliefs and imagination. In the aspect of colloquial expression, it has been kept implementing dialogue that leads the readers to perceive character’s behavior and personality or variety of incidents occurred. These make the readers enjoy asif they were taking part in the incidents themselves.

Keywords : The Creation of Superstitious Conditioning, the Beliefs in Superstition

Article Details

บท
บทความวิจัย