การพัฒนาคุณภาพศูนย์เด็กเล็กตามเกณฑ์มาตรฐานเด็กเล็กน่าอยู่ : กรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็กเทศบาลอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อทดลองโปรแกรมการจัดการเพื่อการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก เทศบาลตำบลทรายมูล อำเภอ ทรายมูล จังหวัดยโสธรเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากการประยุกต์ใช้วงจรการพัฒนาคุณภาพของเดมมิ่ง ก่อน และหลังการดำเนินการและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานการผ่านเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ของกรมอนามัย กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กเทศบาลตำบลทรายมูล จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยการจับสลากเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก โดยการประยุกต์ใช้ วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) และการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC. แบบสอบถาม แบบมาตราประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับเท่ากับ 0.99 และแบบประเมินศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ ของกรมอนามัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
หลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กโดยรวมและเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน คือการค้นหาปัญหา การวางแผน การแก้ไขปัญหา การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขปัญหา ในระดับมากที่สุดและเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ที่ระดับ0.05 และมีผลการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ อยู่ในระดับดี
โดยสรุป การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กโดยการประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (PDCA) และการวางแผนแบบมีส่วนร่วม มี ประสิทธิผล ทำให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามวงจรเพิ่มขึ้น และมีผลทำให้การ ดำเนินงานของศูนย์เด็กเล็กมีคุณภาพอยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ จึงควรสนับสนุน ให้มีการนำโปรแกรมนี้ไป ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กอื่น หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, วงจรคุณภาพเดมมิ่ง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ABSTRACT
A healthy child care center is the significant basis of upgrading the quality of life and beings of all early childhood children to have good quality of life with the aims of appropriate development with ages and being good quality citizen in the future.
This study investigate the Effects of a Program for Management to develop MUNICIPALSAIMOON Healthy Child Care Center, of involved people before and after uses of an application of Demming's cycle (PDCA) and appreciation influence control (AIC) planning in developing a child care center, and to compare the results of developed healthy child care center with the standard criteria of healthy child care center of Department of Sanitation. The sample consisted of 48 people, selected using the cluster random sampling technique, involved in developing Ban MUNICIPALSAIMOON child care center. The instruments of the study included a plan for developing a child care center using the application of Demming's cycle (PDCA) and appreciation influence control (AIC), a rating -scale questionnaire with a reliability of 0.99, and an evaluation form of Department of Health. The data were analyzed using percentage, mean,standard deviation, and paired t-test.
The results of the study revealed that after using the developed plan, the experimental group showed participations in developing the child care center as a whole and in each of the 5 areas : seeking problems, planning, solving problem, evaluating and improving, at the most level ; which increased form before the experiment at the .05 level of significance. Also the quality of child care center was at a good level as measured by the standard criteria of the healthy child care center.
In conclusion, the application of Demming's cycle (PDCA) and the appreciation influence control (AIC) was efficient and could get the involved people increasingly participating in the child care center, and could develop the good performance relevant to the standard requirements of healthy child care center. Therefore, this program should be promoted to apply to developing other child care centers or the other similar activities.
Keywords : Appreciation Influence Control, Demming’s PDCA Cycly, Child Care Center
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา