การสร้างแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ผกาวัลย์ ทองบุ
ณัฎฐชัย จันทชุม
ปิยะธิดา ปัญญา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 และ ประการที่สอง เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายจากคะแนนมาตรฐาน แบบวัดทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้น ประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 317 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการ ศึกษา 2554 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการสร้างแบบวัดทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ 37 ข้อ มีลักษณะเป็น แบบวัดเชิงสถานการณ์ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ประกอบด้วย ด้านการคิดวิเคราะห์ 5 ข้อ ด้านความคิดสร้างสรรค์ 4 ข้อ ด้าน ความตระหนักในตนเอง 4 ข้อ ด้านความเห็นใจผู้อื่น 4 ข้อ ด้านความภูมิใจในตนเอง 4 ข้อ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม 4 ข้อ ด้าน การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร 5 ข้อ ด้านการตัดสินใจแลการแก้ปัญหา 3 ข้อ และ ด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด 4 ข้อ และผลการหาคุณภาพของแบบวัดทักษะชีวิต ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาจาก ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่า ตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าตั้งแต่ 0.49 ถึง 0.85 การวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยันพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ (X2) เท่ากับ 1082.73 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.77 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.97 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับค่าแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.95 ค่ารากที่สองเฉลี่ยของ ค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.04 มีค่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดและความ เชื่อมั่นของแบบวัดทักษะชีวิตทั้งฉบับเท่ากับ 0.98

2. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติ พบว่ามีเกณฑ์ปกติของคะแนนทักษะชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในช่วง T26 ถึง T72 แสดงว่าระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับตํ่าถึงระดับสูงมาก ดังนี้ ระดับทักษะชีวิตสูงมาก จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 7.88 ระดับทักษะชีวิตค่อนข้างสูง จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 22.71 ระดับทักษะชีวิตปานกลาง จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 ระดับทักษะชีวิตค่อนข้างตํ่า จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 22.40 และระดับทักษะชีวิตตํ่า จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 8.20 ส่วนใหญ่นักเรียนมีระดับทักษะชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง

คำสำคัญ : ทักษะชีวิต

 

ABSTRACT

These research objectives were 1) To construction the quality of a life skills scale for grade fourth students and 2) to construct regular norm for the interpretation of the life skills scale .The 317 sample of this research was the grade fourth students in the first semester of the academic year 2554 from the Roi - Et Primary Educational Service Area Office 2. select with the multi-stage random.

The results of the research were as follows:

1. Result Construction the life skills scale for grade sixth student. With37 situation items was multiple choice of include of 5 analysis think skill scale items, 4 creative think skill items, 4 self-awareness items,4 compassion skill items, 4 self- esteem skill items, 4 social responsibility skill items ,5 to relationships and communications skill items,3 decision making and problem-solving skill items, 4 emotion management and be tension skill items and Result of the discrimination the quality of life skills scale were Index of Item- Objective Congruence (IOC) from 0.60 to 1.00, authority to identification of requested was between 0.49 to 0.85, The analysis of construct validity by confirm the component model was consistent with empirical data. The chi - square (X2) was at 1082.73 with chi - square relationship (X2/df) was at 1.77 at 0.97 Goodness of Fit Index and at (GFI), 0.95 was Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) having, Root mean Error of Approximation (RESEA) 0.04. The reliability life skills scale was 0.98.

2. Results normalized T- score the life skills scale for grade fourth students showed that normal in the range of T26 to T72. Life skills level of the students was low to very high as most of the life skills number of 25 accounted for 7.88 percentages, relatively high of the life skills number of 72 accounted for 22.71 percentages, medium of the life skills number of 123 accounted for 38.80 percentages, relatively low of the life skills number of 71 accounted for 22.40 percentages and low of the life skills number of 26 accounted for 8.20 percentages the most students with life skills was middle level.

Keywords : Life Skills Scale

Article Details

บท
บทความวิจัย